Page 25 - kpiebook65012
P. 25

การเลือกตั้งท้องถิ่นในกรุงเทพมหานครจากอดีตถึงการครองอ�านาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ :
         บทส�ารวจประเด็นการเมืองในมิติของการเลือกตั้งท้องถิ่นและปัญหาการพัฒนากรุงเทพมหานคร (พ.ศ. 2518-2565)  25


                  นอกจากนี้แล้วการแก้ปัญหาเรื่องน�้าท่วมที่เน้นการตั้งรับท�าให้
          ไม่เกิดความร่วมมือระหว่างกรุงเทพมหานครกับพื้นที่จังหวัดโดยรอบ ทั้งที่

          น�้าที่ท่วมกรุงเทพมหานครนั้นมาจากทั้งน�้าที่รอการระบายจากปริมาณฝน
          (และการอุดตันของคูคลอง และลักษณะพื้นที่ลุ่มของกรุงเทพมหานคร)
          การหนุนของน�้าทะเล และปัจจัยภายนอกก็คือ น�้าที่หลากมาจากส่วนอื่น ๆ

          ของประเทศที่รอการไหลลงสู่อ่าวไทย ความสัมพันธ์ระหว่างการระบายน�้า
          และบริหารจัดการน�้าของกรุงเทพมหานครและพื้นที่โดยรอบเคยเกิด

          ความขัดแย้งมาแล้วในช่วงของน�้าท่วมใหญ่เมื่อปี 2554

                  ในการพิจารณาเรื่องประสิทธิภาพและความคุ้มค่าในเรื่อง

          งบประมาณระบายน�้าจะพบว่ายังจะต้องพิจารณาถึงปัจจัยในเรื่อง
          สภาพภูมิอากาศในระดับโลกที่มีส่วนในการก�าหนดปริมาณฝนใน
          แต่ละปีด้วย เช่นปีไหนแล้งหรือปีไหนมีฝนตกหนัก


                  การพิจารณาเรื่องของประสิทธิภาพและความคุ้มค่าในส่วน
          ของการระบายน�้าและป้องกันปัญหาน�้าท่วมนั้นจะต้องค�านึงถึงเรื่องของ

          ความพึงใจ การรับรู้ และความคาดหวังของประชาชนในกรุงเทพมหานคร
          ต่อการท�างานของกรุงเทพมหานครด้วย โดยเฉพาะในกรณีโลกออนไลน์

          ที่การสื่อสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว จะพบว่าประชาชนไม่พึงใจกับ
          การพยายามก�าหนดนิยามน�้าท่วมว่าเป็นน�้ารอการระบาย ทุกครั้งที่มี
          น�้าท่วมก็จะมีการเข้าไปแสดงความคิดเห็นต่อความล่าช้าในการแก้ปัญหา

          ในการระบายน�้า รวมไปถึงการตั้งค�าถามถึงต�าแหน่งของ “อุโมงค์ยักษ์”
          ที่จนวันนี้ยังไม่มีการยืนยันว่าอุโมงค์ยักษ์ในการระบายน�้าที่ใช้งบประมาณ

          มหาศาลนั้นสามารถระบายน�้าได้จริงหรือไม่
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30