Page 22 - kpiebook65012
P. 22
22
การก�าหนดแผนพัฒนากรุงเทพมหานครไปแล้ว ก็จะต้องมีการพยายาม
ปรับเพิ่มเนื้อหาและตัวชี้วัดต่าง ๆ ให้เป็นไปตามกรอบของรัฐบาลกลาง
และกรอบอื่น ๆ ที่รัฐบาลกลางน�าเข้ามาใช้ในการก�าหนดแผนพัฒนา
ในทุกระดับ
โดยเงื่อนไขของการเกิดแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร 12 ปี
(พ.ศ. 2552-2563) ถือเป็นการเปลี่ยนวิธีคิดใหม่ในการวางแผนอันเป็น
ผลมาจากบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ที่ก�าหนดแนวนโยบาย
พื้นฐานแห่งรัฐให้รัฐบาลที่เข้ามาบริหารงานต้องด�าเนินการประกอบกับ
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
พ.ศ. 2546 โดยรัฐบาลได้จัดท�าแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.
2548-2551 ขึ้น และก�าหนดให้ส่วนราชการต่าง ๆ ท�าแผนปฏิบัติการ
ให้สอดคล้องกับแผนการบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งกรุงเทพมหานครเอง
ก็มีแผนบริหารราชการกรุงเทพมหานครที่จะสิ้นสุดลงในปี 2551 พอดี
กรุงเทพมหานครจึงมีความเห็นว่าควรก�าหนดยุทธศาสตร์การพัฒนา
กรุงเทพระยะยาว 12 ปี คือ พ.ศ. 2552-2563 กล่าวคือ มีการเปลี่ยนแปลง
การจัดท�าแผน จากแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ที่เป็นแผน 5 ปี มาสู่
แผน 12 ปี ซึ่งเป็นการวางยุทธศาสตร์เมืองในระยะยาวเยี่ยงเมืองอื่น ๆ
ในโลก โดยที่ใน 2 ปีที่เหมือนว่าเหลื่อมกันอยู่ คือ แผนพัฒนา
กรุงเทพมหานคร ฉบับที่ 6 ที่สิ้นสุดลงเมื่อปี 2549 และเริ่มแผนพัฒนา
กรุงเทพมหานคร 12 ปี (พ.ศ. 2552-2563) นั้นมีรอยต่อที่แผนการบริหาร
ราชการกรุงเทพมหานคร (พ.ศ. 2548-2551) และแผนบริหารราชการ
กรุงเทพมหานคร (พ.ศ. 2552-2555) ซึ่งในช่วงต้นยังคงคู่ขนานไปกับ
แผนแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร 12 ปี (พ.ศ. 2552-2563) ต่อมาหลัง