Page 19 - kpiebook65012
P. 19

การเลือกตั้งท้องถิ่นในกรุงเทพมหานครจากอดีตถึงการครองอ�านาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ :
         บทส�ารวจประเด็นการเมืองในมิติของการเลือกตั้งท้องถิ่นและปัญหาการพัฒนากรุงเทพมหานคร (พ.ศ. 2518-2565)  19


          พรรคก้าวหน้าไม่ส่งผู้สมัครลงเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในปี
          พ.ศ. 2528 (พลตรีจ�าลอง ศรีเมือง ชนะการเลือกตั้ง) พรรคประชาธิปัตย์

          ไม่ส่งผู้สมัครลงเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในปี พ.ศ. 2539
          (นายพิจิตต รัตตกุล ชนะการเลือกตั้ง) กล่าวโดยสรุปก็คือการไม่ส่งผู้สมัคร
          รับเลือกตั้งของพรรคการเมืองในหลายครั้งเป็นการตัดสินใจทางยุทธศาสตร์

          ที่จะให้การสนับสนุนผู้สมัครบางรายมากกว่าการตัดสินใจไม่ยุ่งเกี่ยวทาง
          การเมืองกับการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และบางครั้ง

          การตัดสินใจไม่ส่งผู้สมัครลงนั้นก็มีจุดมุ่งหมายที่จะตัดคะแนนหรือ
          ลดความนิยมของพรรคการเมืองคู่แข่งในการเมืองระดับชาติลงไปด้วย
          นอกจากนี้ในหลายครั้งการที่ผู้สมัครลงสมัครในนามพรรคการเมือง

          แล้วได้รับการเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครนั้นอาจไม่ได้
          หมายความว่ากลไกพรรคนั้นมีความเป็นสถาบันที่ชัดเจนที่แยกขาดจาก

          บุคลิกภาพของตัวผู้สมัครเอง หมายถึงกรณีของพลตรีจ�าลอง ศรีเมือง
          ในฐานะหัวหน้าพรรคพลังธรรม และนายสมัคร สุนทรเวช ในฐานะหัวหน้า
          พรรคประชากรไทย


                  นอกเหนือจากท�าความเข้าใจบทบาทของพรรคการเมืองในการมี
          บทบาทสนับสนุนรณรงค์หาเสียงของผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

          ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการแล้ว สิ่งหนึ่งที่ยังไม่มีการศึกษา
          อย่างจริงจังก็คือในบรรดาผู้สมัครอิสระนั้น ส่วนมากจะสมัครในลักษณะ

          ของ “กลุ่ม” และไม่มีการศึกษาหรือสัมภาษณ์ว่าพวกเขาได้รับการสนับสนุน
          จากใครหรือกลุ่มใดบ้าง ในการศึกษาการเลือกตั้งในครั้งต่อไปควรศึกษา
          บรรดาผู้สมัครและการจัดองค์กรของบรรดากลุ่มอิสระของผู้สมัคร

          เหล่านี้ด้วย
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24