Page 17 - kpiebook65012
P. 17

การเลือกตั้งท้องถิ่นในกรุงเทพมหานครจากอดีตถึงการครองอ�านาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ :
         บทส�ารวจประเด็นการเมืองในมิติของการเลือกตั้งท้องถิ่นและปัญหาการพัฒนากรุงเทพมหานคร (พ.ศ. 2518-2565)  17


          ร้อยละ 43.53 (การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเมื่อวันที่
          2 มิถุนายน พ.ศ. 2539) และหลังปี 2540 อยู่ที่ร้อยละ 58.87 (การเลือกตั้ง

          ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2543) ส่วน
          การเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครก่อนการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ
          พ.ศ. 2540 ผู้ไปใช้สิทธิอยู่ที่ร้อยละ 21.29 (การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 6 มีนาคม

          พ.ศ. 2537) และหลังปี 2540 ผู้ไปใช้สิทธิอยู่ที่ร้อยละ 30.43 (การเลือกตั้ง
          เมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2541) ส่วนสมาชิกสภาเขตอยู่ที่ร้อยละ 17.46

          และ 21.45 (การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2536 และ
          วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2537 ตามล�าดับ) และหลังปี 2540 อยู่ที่ร้อยละ
          23.80 และ 30.84 (การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2541 และ

          26 เมษายน พ.ศ. 2541 ตามล�าดับ)

                  อย่างไรก็ตาม ส่วนส�าคัญที่ท�าให้การเลือกตั้งสมาชิกสภา

          กรุงเทพมหานครและสมาชิกสภาเขตนั้นอาจจะยังมีความตื่นตัวน้อยกว่า
          ตัวผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครก็เป็นเพราะว่า หลายครั้งที่ไม่ได้มีการเลือก

          พร้อมกันกับผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เพราะสมาชิกสภากรุงเทพ-
          มหานครและสมาชิกสภาเขตนั้นมักจะอยู่ครบวาระ ขณะที่มีหลายครั้ง
          ที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครนั้นลาออกก่อนครบสมัย (พลตรีจ�าลอง

          ศรีเมือง ในสมัยที่ 2 และนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ในสมัยที่ 2)

                  นอกจากนั้นแล้ว การรณรงค์การเลือกตั้งของผู้สมัครสมาชิก

          สภากรุงเทพมหานครและสมาชิกสภาเขตนั้นก็จะเป็นไปในวงจ�ากัด
          เมื่อเทียบกับการรณรงค์การเลือกตั้งของผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหาคร
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22