Page 21 - kpiebook64013
P. 21

2) พัฒนาการทางด้านหน้าที่และอ�านาจของวุฒิสภาไทย

              นับแต่อดีตถึงปัจจุบัน


                       สมาชิกวุฒิสภามักมาจากการแต่งตั้งจนเกิดการปฏิรูปการเมือง
              ในปีพ.ศ. 2540 โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช

              2540 ได้เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในทางการเมืองมากขึ้น
              ดังเห็นได้จากการกำาหนดให้มีองค์กรอิสระทำาหน้าที่ตรวจสอบการใช้

              อำานาจรัฐ กำาหนดให้ผู้ดำารงตำาแหน่งทางการเมืองและข้าราชการระดับสูง
              สามารถถูกถอดถอนออกจากตำาแหน่งได้ รวมถึงเปลี่ยนแปลงที่มาและ
              องค์ประกอบของสมาชิกรัฐสภา โดยวุฒิสภานั้นมาจากการเลือกตั้ง

              โดยตรงจำานวน 200 คน นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
              พุทธศักราช 2540 กำาหนดให้วุฒิสภามีอำานาจหน้าที่เพิ่มขึ้นจากเดิม

              ที่สำาคัญได้แก่ การคัดสรรบุคคลเข้าดำารงตำาแหน่งในองค์กรอิสระและ
              องค์กรสำาคัญต่างๆ รวมทั้งมี อำานาจหน้าที่ในการถอดถอนบุคคล
              ที่กระทำาผิดตามที่กฎหมายบัญญัติออกจากตำาแหน่ง อย่างไรก็ตาม

              หลักการดังกล่าวได้ถูกยกเลิกไปจากปัญหาที่มีการกล่าวอ้างว่า องค์กรอิสระ
              หลายองค์กรถูกแทรกแซง รวมถึงการที่สมาชิกของสภาผู้แทนราษฎร

              และวุฒิสภามีความสัมพันธ์เป็นเครือญาติใกล้ชิด ทำาให้การปฏิบัติหน้าที่
              ของสมาชิกวุฒิสภาทั้งในการนิติบัญญัติและการควบคุมการบริหารราชการ
              แผ่นดินไม่มีประสิทธิภาพ ขาดความเป็นกลางตามเจตนารมณ์ที่ตั้งไว้


                       ต่อมา รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
              ได้เปลี่ยนแปลงแก้ไขเกี่ยวกับสมาชิกรัฐสภาในหลายส่วน อาทิ สภาผู้แทน

              ราษฎรประกอบด้วย สมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งมีจำานวน 480 คน
              โดย 400 คน มาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต ส่วนอีก 80 คน มาจาก
              การเลือกตั้งแบบสัดส่วน โดยการแบ่งเป็นแปดกลุ่มจังหวัด โดยสัดส่วน





                                                                            21
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26