Page 24 - kpiebook64013
P. 24
3) การพิจารณาร่างกฎหมาย
3.1 พิจารณาร่างพระราชบัญญัติทั่วไป วุฒิสภามีหน้าที่
พิจารณาร่างพระราชบัญญัติต่อจากสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภาต้อง
พิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่เสนอมานั้นให้เสร็จภายในหกสิบวัน
แต่ถ้าร่างพระราชบัญญัตินั้นเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน
ต้องพิจารณาให้เสร็จภายในสามสิบวัน (มาตรา 136 วรรคแรก)
ถ้าวุฒิสภาพิจารณาร่างพระราชบัญญัติไม่เสร็จภายในกำาหนดเวลาตาม
วรรคหนึ่ง ให้ถือว่าวุฒิสภาได้ให้ความเห็นชอบในร่างพระราชบัญญัตินั้น
(มาตรา 136 วรรคสาม)
3.2 พิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำา
ปีงบประมาณ ภายหลังจากการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร โดย
ในการพิจารณาของวุฒิสภา วุฒิสภาจะต้องให้ความเห็นชอบหรือไม่ให้
ความเห็นชอบภายในยี่สิบวันนับแต่วันที่ร่างพระราชบัญญัตินั้นมาถึง
วุฒิสภา โดยจะแก้ไขเพิ่มเติมใดๆ มิได้ ถ้าพ้นกำาหนดเวลาดังกล่าว
ให้ถือว่าวุฒิสภาเห็นชอบกับร่างพระราชบัญญัตินั้น (มาตรา 143
วรรคสาม) ถ้าวุฒิสภาไม่เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว
ให้นำาความในมาตรา 138 วรรคสองมาใช้บังคับโดยอนุโลม โดยให้
สภาผู้แทนราษฎรยกขึ้นพิจารณาใหม่ได้ทันที (มาตรา 143 วรรคสี่)
3.3 พิจารณาพระราชกำาหนด เมื่อพระมหากษัตริย์ทรงตรา
พระราชกำาหนดตามคำาเสนอนแนะของคณะรัฐมนตรีตามบทบัญญัติ
รัฐธรรมนูญมาตรา 172 กำาหนดให้เป็นหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีในการนำา
พระราชกำาหนดนั้นเข้าสู่การพิจารณาเพื่อพิจารณาอนุมัติหรือไม่อนุมัติ
จากรัฐสภา ดังนั้น บทบาทอำานาจหน้าที่ในการพิจารณาพระราชกำาหนด
จึงเป็นส่วนหนึ่งของสมาชิกวุฒิสภา
24 บทบาทอำานาจหน้าที่ของวุฒิสภาในระบบสภาคู่กับประสิทธิผลในการเสริมสร้างเสถียรภาพทางการเมืองและการพัฒนาประชาธิปไตยไทย