Page 23 - kpiebook64013
P. 23
การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน การแต่งตั้งและถอดถอนบุคคล
ตามที่กฎหมายบัญญัติ และอื่นๆ ตามที่รัฐธรรมนูญได้ให้อำานาจ
อย่างไรก็ตาม สมาชิกวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2550 กลับถูกวิพากษ์วิจารณ์โดยประชาชนบางส่วนว่า
ทำาให้พัฒนาการด้านประชาธิปไตยของไทยก้าวถอยหลังสืบเนื่องมาจาก
สมาชิกวุฒิสภานั้นควรมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด อันเป็นการส่งเสริม
การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนตามหลักการประชาธิปไตย
สำาหรับวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2560 พบว่า บทบาทหน้าที่ของสมาชิกวุฒิสภามีทั้งในส่วนที่
เป็นหน้าที่เฉพาะตัวและหน้าที่ที่ต้องใช้พร้อมกับสภาผู้แทนราษฎร ดังนี้
1) การเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย โดยสมาชิกวุฒิสภาย่อมไม่
อยู่ในความผูกมัดแห่งอาณัติมอบหมาย หรือความครอบงำาใดๆ และ
ต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของ
ประเทศชาติและความผาสุกของประชาชนโดยรวม โดยปราศจาก
การขัดกันแห่งผลประโยชน์ (มาตรา 114)
2) อำานาจในการเข้าร่วมประชุมรัฐสภา โดยรัฐธรรมนูญ
กำาหนดให้ในปีหนึ่งให้มีสมัยประชุมสามัญของรัฐสภาสองสมัย สมัยหนึ่ง
ให้มีกำาหนดเวลาหนึ่งร้อยยี่สิบวันแต่พระมหากษัตริย์จะโปรดเกล้า
โปรดกระหม่อมให้ขยายเวลาออกไปก็ได้ (มาตรา 121 วรรคสอง) อย่างไรก็ดี
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาทั้งสองสภารวมกัน หรือ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มีจำานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำานวน
สมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภามีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธาน
รัฐสภาให้นำาความกราบบังคมทูลเพื่อมีพระบรมราชโองการประกาศเรียก
ประชุมรัฐสภาเป็นการประชุมสมัยวิสามัญได้ (มาตรา 123 วรรคแรก)
23