Page 16 - kpiebook64013
P. 16

1) วิเคราะห์โครงสร้างวุฒิสภาของต่างประเทศที่เป็น
          ต้นแบบในการเสริมสร้างเสถียรภาพทางการเมือง

          และมีส่วนส�าคัญในการพัฒนาประชาธิปไตย


                   1. ประเทศอังกฤษ


                   รัฐสภาอังกฤษเป็นระบบสภาแบบขุนนาง รูปแบบการได้มาซึ่ง
          วุฒิสภาของอังกฤษนั้นมีลักษณะที่คล้ายกับรูปแบบการได้มาซึ่งวุฒิสภา

          ของประเทศไทยชุดปัจจุบัน กล่าวคือ มาจากการแต่งตั้งทั้งหมดมิได้ผ่าน
          การเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนแม้แต่คนเดียว โดยสมาชิกสภาขุนนาง
          แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ ขุนนางสืบตระกูล ขุนนางศาสนา และ

          ขุนนางตลอดชีพ วุฒิสภาอังกฤษมีอำานาจหน้าที่ในการพิจารณาร่าง
          กฎหมาย ซึ่งทุกร่างกฎหมายจะต้องได้รับพิจารณาโดยรัฐสภาทั้งสอง

          สภาก่อนจึงจะกลายเป็นกฎหมายหรือพระราชบัญญัติได้ สภาขุนนาง
          ยังตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นมาเพื่อตรวจสอบนโยบายต่างๆ หรือพิจารณา
          รวบรวมข้อมูล ตรวจสอบ และจัดทำารายงานเพื่อประกอบการพิจารณา

          ร่างกฎหมาย การลดและจำากัดอำานาจของสภาขุนนางมีมาโดยตลอด
          โดยพระราชบัญญัติรัฐสภาปี ค.ศ. 1911 ระบุว่า หากสภาสามัญผ่าน

          ร่างกฎหมายใดให้สภาขุนนางพิจารณา หากเวลาผ่านไปแล้ว 1 เดือน
          หากสภาขุนนางยังไม่ได้มีความคิดเห็นใดออกมาจะถือว่าร่างกฎหมายนั้น
          เป็นกฎหมายทันที และห้ามสภาขุนนางแก้ไขร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

          กับการเงิน แต่มีหน้าที่ให้ความเห็นชอบยืนตามสภาสามัญเท่านั้น ส่วน
          พระราชบัญญัติรัฐสภาปี ค.ศ. 1949 ยิ่งลดอำานาจของสภาขุนนางลงไปอีก

          กล่าวคือ สภาขุนนางไม่สามารถยับยั้งกฎหมายได้เพียงแต่สามารถ
          ชะลอออกไปได้มากถึง 2 ปี จนมาถึงการออกพระราชบัญญัติรัฐสภา
          ปี ค.ศ. 1999 เพื่อจำากัดจำานวนขุนนางประเภทขุนนางสืบตระกูล




         16  บทบาทอำานาจหน้าที่ของวุฒิสภาในระบบสภาคู่กับประสิทธิผลในการเสริมสร้างเสถียรภาพทางการเมืองและการพัฒนาประชาธิปไตยไทย
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21