Page 192 - kpiebook64013
P. 192

1.1  การพิจารณากฎหมายงบประมาณ รัฐธรรมนูญแห่ง

          สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ค.ศ. 1987 กำาหนดให้การจ่ายเงินของสาธารณรัฐ
          จำาต้องกระทำาเป็นกฎหมายงบประมาณรายจ่ายที่ผ่านการพิจารณาและ
          ให้ความเห็นชอบจากสภาคองเกรส และฝ่ายบริหารต้องปฏิบัติตามหลัก

          ว่าด้วยวินัยการเงินการคลังตามที่รัฐธรรมนูญกำาหนด

                   รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ค.ศ. 1987 ได้กำาหนด

          ให้ประธานาธิบดีจำาต้องเสนอแผนงบประมาณและข้อมูลทางการเงิน
          การคลังตลอดจนการจัดเก็บภาษีอากรโดยละเอียดต่อสภาคองเกรส
          ภายใน 30 วัน นับแต่วันเปิดสมัยประชุมสามัญแต่ละครั้ง และ

          สภาคองเกรสมีอำานาจในการพิจารณาและอนุมัติงบประมาณตาม
          ปีงบประมาณปกติ และการอนุมัติงบประมาณเพิ่มเติมตลอดจนอำานาจ

          ในด้านการคลังอื่นๆ ทั้งนี้แม้ว่ารัฐธรรมนูญจะกำาหนดให้การพิจารณา
          ร่างรัฐบัญญัติงบประมาณรายจ่าย ร่างรัฐบัญญัติภาษีอากร ร่าง
          รัฐบัญญัติพิกัดศุลกากร ต้องเริ่มเสนอที่สภาผู้แทนราษฎรก่อนเสมอ

          แต่วุฒิสภามีอำานาจในการแก้ไขเพิ่มเติมได้เช่นกัน ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่า
          นอกจากรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ค.ศ. 1987 จะได้กำาหนด

          หลักเกณฑ์ด้านการอนุมัติงบประมาณจากสภาคองเกรสไว้แล้ว ยังได้
          กำาหนดกรอบวินัยการเงินการคลังไว้อย่างละเอียด อันเป็นผลให้วุฒิสภา
          สามารถดำาเนินงานในการควบคุมและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณ

          ของฝ่ายบริหารได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นด้วย สำาหรับขั้นตอน
          ในกระบวนการนิติบัญญัติของสภาคองเกรสนั้น หน่วยงานของรัฐภายใต้

          การกำากับดูแลของฝ่ายบริหารจะเป็นผู้จัดทำาร่างรัฐบัญญัติเพื่อเสนอให้
          สภาคองเกรสพิจารณาการเสนอร่างรัฐบัญญัติโดยฝ่ายบริหารอาจเสนอ
          ต่อสภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภาก็ได้ดังนี้






        192  บทบาทอำานาจหน้าที่ของวุฒิสภาในระบบสภาคู่กับประสิทธิผลในการเสริมสร้างเสถียรภาพทางการเมืองและการพัฒนาประชาธิปไตยไทย
   187   188   189   190   191   192   193   194   195   196   197