Page 196 - kpiebook64013
P. 196

2 ใน 3 ของสมาชิกเท่าที่มีอยู่ ซึ่งสามารถตั้งข้อสังเกตในเรื่องนี้ได้ว่า
          รัฐธรรมนูญค่อนข้างให้อำานาจวุฒิสภาค่อนข้างสูงในลักษณะเดียวกับ

          สหรัฐอเมริกา ทั้งยังกำาหนดให้ใช้มติเสียงข้างมากพิเศษ สำาหรับการอนุมัติ
          การทำาหนังสือสัญญาระหว่างประเทศของรัฐบาล จึงนับว่าบทบาทของ

          วุฒิสภาฟิลิปปินส์ในส่วนนี้มีผลกระทบต่อการดำาเนินงานของฝ่ายบริหาร
          อยู่ไม่น้อย และแสดงถึงว่าวุฒิสภาได้รับความสำาคัญในฐานะสภา
          ผู้ทรงคุณวุฒิโดยแท้


                   2.3   การถอดถอนผู้ด�ารงต�าแหน่งทางการเมือง

                   รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ค.ศ. 1987 ได้กำาหนด

          ให้วุฒิสภามีอำานาจในการถอดถอน (ประธานาธิบดี รองประธานาธิบดี
          และผู้พิพากษาศาลฎีกา คณะกรรมการรัฐธรรมนูญ ผู้ตรวจการแผ่นดิน

          ในฐานความผิดร้ายแรงต่างๆ โดยกำาหนดให้สภาผู้แทนราษฎรมีอำานาจ
          ในการเริ่มกระบวนการถอดถอน และวุฒิสภาเป็นองค์กรที่ทำาหน้าที่มีมติ
          ให้ถอดถอนบุคคลดังกล่าวออกจากตำาแหน่งตามกระบวนการที่กำาหนด

          ไว้ในรัฐธรรมนูญในลักษณะคล้ายคลึงกับกระบวนการถอดถอนออกจาก
          ตำาแหน่งของสหรัฐอเมริกา สำาหรับบทบาทในการถอดถอนบุคคลออกจาก

          ตำาแหน่งนั้น สภาคองเกรสได้เคยมีกระบวนการถอดถอนประธานาธิบดี
          เช่นที่ปรากฏในสมัยของประธานาธิบดี โจเซฟ เอสตราด้า ซึ่งวุฒิสภา
          ในสมัยนั้นได้มีมติไม่ถอดถอนออกจากตำาแหน่งและได้นำาไปสู่การประท้วง

          ของประชาชนจนประธานาธิบดีท่านนั้นต้องออกจากตำาแหน่งในที่สุด
          อย่างไรก็ตาม บทบาทในการตรวจสอบการแต่งตั้งบุคคลให้ดำารงตำาแหน่ง

          ของประธานาธิบดีโดยคณะกรรมาธิการแต่งตั้งนั้นกลับได้รับการยอมรับว่า
          เป็นบทบาทที่ทรงพลัง มีประสิทธิภาพ และสามารถรักษาผลประโยชน์
          ของชาติได้เป็นอย่างดี





        196  บทบาทอำานาจหน้าที่ของวุฒิสภาในระบบสภาคู่กับประสิทธิผลในการเสริมสร้างเสถียรภาพทางการเมืองและการพัฒนาประชาธิปไตยไทย
   191   192   193   194   195   196   197   198   199   200   201