Page 194 - kpiebook64013
P. 194
จากนั้นร่างรัฐบัญญัติที่ผ่านความเห็นชอบจากสภาคองเกรสจะส่ง
ให้ประธานาธิบดีลงนาม ทั้งนี้ ร่างรัฐบัญญัติที่ผ่านการลงนามโดย
ประธานาธิบดีจะได้รับหมายเลขกฎหมายในระดับสาธารณรัฐ และมีผล
ใช้บังคับต่อไป ส่วนร่างรัฐบัญญัติที่ประธานาธิบดีไม่ลงนามก็จะมีผล
ใช้บังคับในทันทีเมื่อพ้น 30 วันนับแต่ประธานาธิบดีได้รับร่างรัฐบัญญัติ
อย่างไรก็ดี ประธานาธิบดีสามารถใช้อำานาจยับยั้งร่างรัฐบัญญัติได้
โดยการจัดทำาความเห็นคัดค้านการออกกฎหมายและส่งร่างรัฐบัญญัติ
คืนรัฐสภาหรือวุฒิสภา แล้วแต่กรณี ร่างรัฐบัญญัติที่ถูกยับยั้งจะมีผล
ใช้บังคับถ้าสมาชิกสภาคองเกรสจำานวนไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 มีมติยืนยัน
ร่างรัฐบัญญัติได้ กระบวนการนิติบัญญัติทั้งหมดนี้ได้รับการยอมรับว่าเป็น
กระบวนการกลั่นกรองให้ร่างกฎหมายเกิดประโยชน์แก่ส่วนรวมมากขึ้น
อันถือเป็นจุดแข็งของกระบวนการนิติบัญญัติของระบบประธานาธิบดี
และระบบตรวจสอบและถ่วงดุลอำานาจของประเทศฟิลิปปินส์ 127
2. บทบาทและอ�านาจหน้าที่ในการตรวจสอบ
2.1 การแต่งตั้งคณะกรรมาธิการ
รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ค.ศ. 1987 กำาหนด
หลักการให้วุฒิสภาของประเทศฟิลิปปินส์มีบทบาทอำานาจหน้าที่ในด้าน
การควบคุมและตรวจสอบการดำาเนินงานขององค์กรของรัฐฝ่ายบริหาร
ทั้งนี้ได้กำาหนดให้วุฒิสภามีอำานาจในการพิจารณา สอบสวน หรือศึกษา
ประเด็นต่างๆ ได้ตลอดจนมีอำานาจในการตั้งคณะกรรมาธิการให้มีอำานาจ
ในประเด็นที่อยู่ภายใต้ขอบเขตอำานาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการได้ตาม
127 นิรันดร์นุต ภัคพงศ์พหลโยธิน และวัชรา ธิตินันทน์. การศึกษาเปรียบเทียบ
รัฐสภาของประเทศในภูมิภาคเอเชีย : กรณีศึกษาสาธารณรัฐฟิลิปปินส์. กรุงเทพฯ :
สถาบันพระปกเกล้า.
194 บทบาทอำานาจหน้าที่ของวุฒิสภาในระบบสภาคู่กับประสิทธิผลในการเสริมสร้างเสถียรภาพทางการเมืองและการพัฒนาประชาธิปไตยไทย