Page 190 - kpiebook64013
P. 190
แม้ว่าฝ่ายบริหารจะมีบทบาทหลักในการกำาหนดและใช้จ่ายงบประมาณ
แต่ถึงอย่างไรก็ตาม การกำาหนดหรือจัดสรรงบประมาณจะไม่สามารถ
นำาไปปฏิบัติได้ หากไม่ได้รับความเห็นชอบของวุฒิสภาในการประกาศ
บังคับใช้เป็นกฎหมายงบประมาณ
เมื่อประธานาธิบดีจัดทำาเอกสารงบประมาณเสร็จแล้ว จะต้อง
ส่งให้สภาคองเกรสพิจารณาเพื่อบัญญัติ เป็นกฎหมายงบประมาณ
สภาคองเกรสมีอิสระที่จะแสดงความไม่เห็นด้วย หรือให้ปรับปรุง
แก้ไข และให้คำาแนะนำาแก่ประธานาธิบดีต่อการกำาหนดงบประมาณได้
การพิจารณากฎหมายงบประมาณจะเริ่มจากการพิจารณาโดย
สภาผู้แทนราษฎรเป็นลำาดับแรก เมื่อสภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นชอบ
ต่อร่างกฎหมายงบประมาณแล้ว จะส่งต่อไปยังวุฒิสภาเพื่อพิจารณา
เป็นลำาดับต่อไป
เมื่อวุฒิสภาได้รับร่างกฎหมายงบประมาณจากสภาผู้แทน
ราษฎรแล้ว วุฒิสภาจะส่งให้คณะอนุกรรมาธิการของคณะกรรมาธิการ
การเงินของวุฒิสภาและคณะกรรมาธิการการจัดสรรงบประมาณรายจ่าย
จัดทำาประชาพิจารณาและรายงานต่อวุฒิสภา จากนั้นสมาชิกวุฒิสภา
จะทำาการพิจารณาลงมติให้ความเห็นชอบ ซึ่งมักสอดคล้องกับคำาแนะนำา
ของคณะกรรมาธิการทั้ง 2 คณะ ในทางปฏิบัติการพิจารณาร่างกฎหมาย
งบประมาณของสภาคองเกรสมักอาศัยการทำางานของคณะกรรมาธิการ
ผสมวิสามัญเพื่อขจัดความเห็นที่ไม่ตรงกันระหว่างสภาผู้แทนราษฎร
และวุฒิสภาเพื่อให้ร่างกฎหมายฉบับนั้นประกาศใช้ได้อย่างทันเวลา
หากวุฒิสภาให้ความเห็นชอบต่อร่างกฎหมายงบประมาณดังกล่าวแล้ว
จึงประกาศใช้เป็นกฎหมายงบประมาณที่มีผลบังคับใช้ต่อไป ในกรณี
ที่สภาคองเกรสไม่เห็นชอบต่อร่างกฎหมายงบประมาณดังกล่าว
190 บทบาทอำานาจหน้าที่ของวุฒิสภาในระบบสภาคู่กับประสิทธิผลในการเสริมสร้างเสถียรภาพทางการเมืองและการพัฒนาประชาธิปไตยไทย