Page 200 - kpiebook64013
P. 200
1.2 พิจารณากลั่นกรองร่างกฎหมายและเสนอให้แก้ไข
เพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
ในการพิจารณาร่างกฎหมายของวุฒิสภานั้น หลังจากวุฒิสภา
ได้รับร่างกฎหมายจากรัฐบาลหรือสมาชิกรัฐสภา ในกรณีที่เสนอ
ร่างกฎหมายต่อวุฒิสภาเพื่อพิจารณาเป็นสภาแรก หากมีการร้องขอ
จากรัฐบาลหรือสภาผู้แทนราษฎร ให้ส่งร่างกฎหมายฉบับนั้นไปให้
คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา แต่หากไม่มีการร้องขอ ให้ส่ง
คณะกรรมาธิการสามัญพิจารณา ซึ่งการพิจารณาร่างกฎหมายโดย
คณะกรรมาธิการนี้ ประธานคณะกรรมาธิการจะแต่งตั้งกรรมาธิการคนหนึ่ง
ในกรรมาธิการผู้รับผิดชอบร่างกฎหมายทำาหน้าที่พิจารณาร่างกฎหมาย
เพื่อเสนอในการประชุมคณะกรรมาธิการ ซึ่งกรรมาธิการสามารถเสนอ
คำาแปรญัตติแก้ไขร่างได้และภายหลังคณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว
กรรมาธิการผู้รับผิดชอบร่างกฎหมายมีหน้าที่จัดทำารายงานเสนอต่อ
วุฒิสภาเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาร่างกฎหมายฉบับนั้นต่อไป
2. บทบาทและอ�านาจหน้าที่ด้านการตรวจสอบ
2.1 ตั้งกระทู้ถาม สมาชิกรัฐสภามีอำานาจในการควบคุม
การบริหารราชการแผ่นดินของฝ่ายบริหารได้ โดยการตั้งกระทู้ถามรัฐบาล
หรือรัฐมนตรี ซึ่งสมาชิกวุฒิสภามีอำานาจในการตั้งกระทู้ถามได้ 2 ประเภท
ได้แก่ กระทู้ถามด้วยลายลักษณ์อักษร และ กระทู้ถามด้วยวาจา
2.2 การแต่งตั้งคณะกรรมาธิการ รัฐสภามีอำานาจแต่งตั้ง
คณะกรรมาธิการ เพื่อทำาหน้าที่ในการพิจารณาร่างกฎหมาย และมีหน้าที่
และอำานาจในการควบคุมตรวจสอบการปฏิบัติงานของรัฐบาลภายใน
ขอบอำานาจ แบ่งเป็น คณะกรรมาธิการสามัญ คณะกรรมาธิการวิสามัญ
และคณะกรรมาธิการสอบสวน
200 บทบาทอำานาจหน้าที่ของวุฒิสภาในระบบสภาคู่กับประสิทธิผลในการเสริมสร้างเสถียรภาพทางการเมืองและการพัฒนาประชาธิปไตยไทย