Page 168 - kpiebook64011
P. 168
และอาจรวมไปถึงคนที่เคยลงสมัครรับการเลือกตั้งในต าแหน่ง ก านัน ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกเทศบาล หรือสมาชิก
สภาองค์การบริหารส่วนต าบล แต่ไม่ชนะการเลือกตั้ง คนพวกนี้ก็ถือว่าเป็นที่รู้จักของคนในพื้นที่แล้วและมักจะ
ถูกติดต่อให้เป็นหัวคะแนนได้ (ผู้ใหญ่บ้านหญิงท่านหนึ่ง, สัมภาษณ์, วันที่ 18 เมษายน 2564; ประธานชมรม
ศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในพื้นที่, สัมภาษณ์, วันที่ 9 เมษายน 2564)
การจัดวางความสัมพันธ์หรือบทบาทหน้าที่ของหัวคะแนนเหล่านี้สามารถจ าลองโครงสร้าง
ความสัมพันธ์ได้เป็น 4 ระดับกล่าวคือ หัวคะแนนวงใน หัวคะแนนคุมพื้นที่ใหญ่ หัวคะแนนคุมพื้นที่ย่อม และ
หัวคะแนนคุมย่าน หรือกลุ่มบ้าน หัวคะแนนใน 4 ระดับมีบทบาทและความสัมพันธ์ระหว่างกันดังนี้ (ประมวล
จาก ผู้ใหญ่บ้านชายท่านหนึ่ง, สัมภาษณ์, วันที่ 5 เมษายน 2564; นักธุรกิจรายใหญ่ในพื้นที่, สัมภาษณ์, วันที่
19 เมษายน 2564; อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการท่านหนึ่ง, สัมภาษณ์, วันที่ 12
เมษายน 2564; ผู้ใหญ่บ้านหญิงท่านหนึ่ง, สัมภาษณ์, วันที่ 18 เมษายน 2564; คณะกรรมการหมู่บ้านท่าน
หนึ่งในเขตอ าเภอบางพลี, สัมภาษณ์, วันที่ 18 เมษายน 2564)
หัวคะแนนวงในมักเป็นหัวคะแนนที่จงรักภัคดีกับตัวผู้สมัครรับเลือกตั้งและเครือข่ายจนเป็นที่ไว้วางใจ
หัวคะแนนในระดับนี้มักเป็นเครือญาติใกล้ชิดของตัวผู้สมัคร หรือเป็นคณะที่ปรึกษาและคณะท างานของตัว
ผู้สมัครรับเลือกตั้ง หัวคะแนนกลุ่มนี้จะอยู่บนสุดของโครงสร้างความสัมพันธ์เพราะเป็นกลุ่มที่ใกล้ชิดและ
สามารถเข้าถึงตัวผู้สมัครได้มากที่สุด หัวคะแนนวงในมีบทบาทหลักในสามด้านคือ ด้านแรก การวางแผนหา
เสียง หัวคะแนนวงในจะเป็นผู้ก าหนดแนวทางการหาเสียง ช่วงเวลาในการลงพื้นที่ รูปแบบ วิธีการ เนื้อหา
ตลอดจนภาพลักษณ์ของผู้สมัครที่ต้องใช้สื่อสารในระหว่างการหาเสียง ด้านที่สอง การวางแผนเพื่อแจกจ่าย
ทรัพยากรในแต่ละพื้นที่ บทบาทด้านนี้เกี่ยวข้องกับการแจกเงินและผลประโยชน์อื่น ๆ ในพื้นที่เลือกตั้ง โดย
หัวคะแนนวงในจะเป็นผู้ก าหนดจ านวนเงินที่ต้องแจก ระยะเวลา และจ านวนครั้งที่ต้องแจกในแต่ละพื้นที่
เพราะการแจกเงินและผลประโยชน์ในแต่ละพื้นที่ไม่เท่ากันและไม่เหมือนกันหมด บางพื้นที่ที่มีการแข่งขันสูง
อาจต้องต้องแจกเงินหลายรอบ ในจ านวนที่มากพอจะต่อสู่กับคู่แข่งได้ ด้านที่สาม การคัดเลือกหัวคะแนนใน
ระดับรอง ภารกิจในด้านนี้เป็นการพิจารณาคัดเลือกว่าใครสามารถเป็นหัวคะแนนในระดับพื้นที่ใหญ่และพื้นที่
ย่อยให้แก่ผู้สมัครได้ เพราะไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถเป็นหัวคะแนนให้แก่ผู้สมัครได้ การป้องกันตัวแทนของฝ่าย
ตรงข้ามที่จะแทรกแซงเข้ามาในเครือข่ายการหาเสียงรวมถึงการตรวจสอบว่าใครมีศักยภาพหรือไม่มีศักยภาพที่
จะเป็นหัวคะแนนได้เป็นการตรวจสอบส าคัญ
หัวคะแนนคุมพื้นที่ใหญ่ มักเป็นผู้ที่ด ารงต าแหน่งทางการเมืองซึ่งเป็นที่รู้จักในระดับอ าเภอ หรือเป็นที่
รู้จักข้ามเขตพื้นที่ อาทิ สมาชิกหรืออดีตสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด รวมถึงอดีตสมาชิกสภาผู้แทน
ราษฎรหรืออดีตผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในโครงสร้างความสัมพันธ์ หัวคะแนนกลุ่มนี้จะอยู่รองลงมา
จากหัวคะแนนวงใน และมีหน้าที่ส าคัญคือ การให้ข้อมูลเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวทางการเมือง การ
เปลี่ยนแปลงของฐานคะแนนเสียงและความนิยมของตัวผู้สมัคร รวมถึงการรายงานความเคลื่อนไหวของ
หัวคะแนนในระดับรองลงมาให้แก่ผู้สมัครรับเลือกตั้งและหัวคะแนนวงใน ข้อมูลในระดับพื้นที่ซึ่งหัวคะแนน
กลุ่มนี้สะท้อนให้แก่ผู้สมัครและหัวคะแนนวงในจะเป็นฐานข้อมูลที่ช่วยชี้น าการตัดสินใจและการวางแผนหา
เสียงของผู้สมัคร
หัวคะแนนคุมพื้นที่ย่อย มักเป็นผู้ที่มีต าแหน่งทางการเมืองในระดับต าบลหรือหมู่บ้าน ซึ่งได้แก่
ผู้บริหารและสมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงก านัน หัวคะแนนในกลุ่มนี้จะอยู่รองลงมาจาก
โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ 150