Page 167 - kpiebook64011
P. 167
หากพิจารณาข้อมูลเชิงสถิติจะพบว่าตัวเลขของผู้ตอบแบบสอบถามที่ให้ความส าคัญกับหัวคะแนนมี
มากถึงร้อยละ 83 แต่ความส าคัญมากน้อยย่อมต่างกันไปตามมุมมองของผู้ตอบแบบสอบถาม เพราะหากผู้ตอบ
แบบสอบถามมีปฏิสัมพันธ์ใกล้ชิดกับหัวคะแนนย่อมมองเห็นความส าคัญของหัวคะแนนได้อย่างเด่นชัด ในทาง
กลับกันหากผู้ตอบแบบสอบถามไม่เคยมีปฏิสัมพันธ์กับหัวคะแนนในทางใดทางหนึ่ง ก็อาจมองได้ว่าหัวคะแนน
มีความจ าเป็นน้อยต่อการเลือกตั้ง อย่างไรก็ดีควรที่จะตั้งค าถามต่อไปว่าเมื่อผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มอง
ว่าหัวคะแนนมีความจ าเป็นต่อการเลือกตั้ง แล้วบทบาทของหัวคะแนนในการเลือกตั้งเป็นอย่างไร จากการ
ส ารวจความเห็นของผู้มีสิทธิเลือกตั้งพบว่า ร้อยละ 52 ของผู้ตอบแบบสอบถามมองว่า หัวคะแนนคือ
คณะท างานรณรงค์หาเสียงให้แก่ผู้สมัครรับเลือกตั้ง เพราะหัวคะแนนสามารถช่วยประชาสัมพันธ์ข้อมูลของ
ผู้สมัครในรูปแบบปากต่อปาก หรือชักชวนให้คนในพื้นที่มาเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งได้ ในขณะที่ร้อยละ 30.3
มองว่า หัวคะแนนคือ ช่องทางกระจายทรัพยากร (อาทิ เงิน) จากผู้สมัครรับเลือกตั้งมายังผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และ
ร้อยละ 26.1 ของผู้ตอบแบบสอบถามมีมุมมองว่า หัวคะแนนคือ ตัวกลางที่ท าให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในพื้นที่
สามารถเจรจาต่อรองกับตัวผู้สมัครรับเลือกตั้งได้ เพราะคนในพื้นที่สามารถพูดคุยกับหัวคะแนนเพื่อให้
หัวคะแนนน าประเด็นปัญหาและความต้องการเหล่านั้นไปสื่อสารกับผู้สมัครรับเลือกตั้ง (พิจารณาตาราง 5.2)
ตาราง 5.2 บทบาทของหัวคะแนนในการเลือกตั้งนายกและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด
สมุทรปราการ ปี 2563
Role
Frequency Percent Valid Percent Cumulative Percent
Campaign team 52 43.7 43.7 43.7
Facilitator 31 26.1 26.1 69.7
Valid
Resource distributor 36 30.3 30.3 100.0
Total 119 100.0 100.0
ที่มา : เก็บข้อมูลและประมวลโดยคณะผู้วิจัย
จากข้อมูลข้างต้นท าให้พอสรุปได้ว่า หัวคะแนนยังคงเป็นเงื่อนไขส าคัญที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งจะขาด
ไม่ได้ เพราะหัวคะแนนเป็นผู้ก ากับการหาเสียง ทรัพยากร และพันธสัญญาระหว่างผู้หาเสียงและผู้มีสิทธิ
เลือกตั้ง แต่หัวคะแนนคือใคร และมีการจัดโครงสร้างเชิงสถาบัน (institutionalization) ระหว่างหัวคะแนน
และเชื่อมโยงไปยังตัวผู้สมัครอย่างไร ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ช่วยตอบค าถามเพื่อขยายความเข้าใจในประเด็น
นี้
หัวคะแนนอาจจ าแนกได้เป็นสองกลุ่มหลักคือ หัวคะแนนที่อยู่ในโครงสร้างอ านาจที่เป็นทางการ และ
หัวคะแนนที่อยู่นอกโครงสร้างอ านาจที่เป็นทางการ แต่เมื่อหัวคะแนนต้องลงมือปฏิบัติหาเสียงให้แก่ผู้สมัคร
หัวคะแนนทั้งสองกลุ่มจะประสานความร่วมมือและท างานร่วมกันในพื้นที่ หัวคะแนนประเภทแรกมักพบเห็นได้
จากผู้มีต าแหน่งทางการเมืองในระดับพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด นายกและ
สมาชิกสภาเทศบาล นายกและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนต าบล ก านัน ผู้ใหญ่ และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
ส าหรับหัวคะแนนอีกกลุ่มหนึ่งมักไม่ใช่ผู้ด ารงต าแหน่งทางการเมืองในพื้นที่ แต่มีบารมีหรือเป็นหัวหน้ากลุ่มของ
ประชาชนจ านวนหนึ่งในพื้นที่ รวมถึงเป็นผู้ที่ได้รับความไว้วางใจในบางระดับจากผู้คนในพื้นที่ หัวคะแนนใน
กลุ่มนี้ประกอบไปด้วย ประธานกลุ่มสตรีแม่บ้าน ประธานและสมาชิกอาสาสาธารณสุขประจ าหมู่บ้าน (อสม.)
ประธานชมรมผู้สูงอายุ ประธานสมาคมกีฬา กลุ่มธุรกิจสีเทา ข้าราชการที่เกษียณแล้ว เครือญาติของผู้สมัคร
โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ 149