Page 200 - kpiebook63031
P. 200
199
ขณะที่กลุ่มผู้ที่เริ่มมีสิทธิในการเลือกตั้งครั้งแรก (New Voter) ที่เป็นคนหนุ่มสาว นักเรียน นักศึกษา
ที่เป็นคนรุ่นใหม่มีแนวโน้มชื่นชอบพรรคอนาคตใหม่ เนื่องจากต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง
โดยคะแนนเสียงในการเลือกตั้งของผู้สมัคร ส.ส. พรรคอนาคตใหม่ ที่พบว่าหลายเขตเลือกตั้ง
คะแนนเสียงอยู่ในลำาดับที่ 3 เหนือพรรคภูมิใจไทย พรรคประชาธิปัตย์ และพรรคอื่นๆ หลายพรรค
โดยเฉพาะในเขต 1 เขต 3 เขต 5 เขต 6 และ เขต 7 ถือได้ว่าเป็นปรากฏการณ์ กล่าวคือ แม้ว่าผู้สมัคร
ส.ส. พรรคอนาคตใหม่จะเป็นผู้สมัครหน้าใหม่ไม่เป็นที่รู้จักมากนัก หรือบางแห่งประชาชนไม่คุ้นหน้า
ไม่เคยลงพื้นที่มาก่อน ไม่จำาเป็นต้องซื้อเสียง แต่ประชาชนก็ยังลงคะแนนให้ซึ่งได้รับอิทธิพลโดยตรงจาก
กระแสหัวหน้าพรรค คุณธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ นโยบายที่แปลกใหม่ท้าทายระบบเดิม การนำาเสนอที่เข้าถึง
กลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพผ่านสื่อกระแสใหม่ช่องทางต่างๆ
อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาจำานวนค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งของผู้สมัคร ส.ส. พรรคอนาคตใหม่
รวมทั้งสิ้น 7,076,256.45 บาท (ไม่นับรวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ไม่ถูกกฎหมาย ที่ไม่มีหลักฐานหรือเอกสารยืนยัน
จากสำานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำาจังหวัดอุบลราชธานี) เฉลี่ยค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งของ
ผู้สมัคร ส.ส. พรรคอนาคตใหม่ ต่อ 1 คน คิดเป็น 707,625 บาท ผู้สมัครที่มีค่าใช้จ่ายมากที่สุดของ
พรรคอนาคตใหม่ คือ นายสถาพร ศรีแย้ม เขตเลือกตั้งที่ 3 อำาเภอวารินชำาราบ อำาเภอนาเยีย จำานวน
1,386,840.60 บาท แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง
เทียบกับจำานวนค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งของผู้สมัคร ส.ส. ของพรรคอื่นๆ ที่ชนะการเลือกตั้ง
อาทิ จำานวนค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งของผู้สมัคร ส.ส. ของพรรคประชาธิปัตย์ รวมทั้งสิ้น 6,279,476 บาท
(ไม่นับรวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ไม่ถูกกฎหมาย ที่ไม่มีหลักฐานหรือเอกสารยืนยันจากสำานักงานคณะกรรมการ
การเลือกตั้งประจำาจังหวัดอุบลราชธานี) เฉลี่ยค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งของผู้สมัคร ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์
ต่อ 1 คน คิดเป็น 627,948 บาทหรือจำานวนค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งของผู้สมัคร ส.ส. พรรคเพื่อไทย
รวมทั้งสิ้น 10,313,914.40 บาท (ไม่นับรวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ไม่ถูกกฎหมาย ที่ไม่มีหลักฐานหรือเอกสาร
ยืนยันจากสำานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำาจังหวัดอุบลราชธานี) เฉลี่ยค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้ง
ของผู้สมัคร ส.ส. พรรคเพื่อไทย ต่อ 1 คน คิดเป็น 1,031,391.44 บาท ซึ่งถือว่าใกล้เคียงไม่แตกต่างกัน
มากนัก
4.2) การจ่ายเงินซื้อเสียง
ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม เอกสาร ข้อมูลจากสื่อและช่องทาง
ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ค้นพบว่า การเลือกตั้ง ส.ส.เมื่อวัน 24 มีนาคม 2562 การจ่ายเงินซื้อเสียงที่เหนือ
คู่แข่งเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถเป็นปัจจัยตัดสิน หรือเป็นเงื่อนไขที่จำาเป็นและเพียงพอ (Necessary
and Sufficient Conditions ; NSC) ที่จะทำาให้ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งในจังหวัดอุบลราชธานีอีกต่อไป
ทั้งนี้ จากการลงพื้นที่ศึกษา ค้นพบว่า ในการเลือกตั้งครั้งนี้ มีการจ่ายเงินซื้อเสียงอย่างแพร่หลายโดย
พรรคการเมืองกลุ่มหนึ่งซึ่งเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปในจังหวัดอุบลราชธานี บางพรรคพบการใช้เงินซื้อ
เสียงอย่างแพร่หลาย (แบบปูพรม) เกือบทุกพื้นที่ของจังหวัด เฉลี่ยรายละ 200-500 บาท