Page 195 - kpiebook63031
P. 195
การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562
194 จังหวัดอุบลราชธานี
ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2562 จ.อุบลราชธานี เขตเลือกตั้ง
ที่ 9 ผู้ที่ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง คือ นายประภูศักดิ์ จินตะเวช พรรคเพื่อไทย ได้ 33,157 คะแนน
(อันดับสอง คือ นางรำาพูล ตันติวณิชชานนท์ พรรคพลังประชารัฐ ได้ 18,579 คะแนน และอันดับสาม
คือ นายสุพจน์ วรรณสุข พรรคภูมิใจไทย ได้ 14,518 คะแนน ตามลำาดับ) จากจำานวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
145,067 คน จำานวนผู้มาแสดงตนขอใช้สิทธิเลือกตั้ง 94,307 คน คิดเป็นร้อยละ 65.01 มีจำานวนพรรคที่
ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งทั้งหมด 36 พรรค (ถูกตัดสิทธิไม่ได้รับการประกาศชื่อเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง 2 พรรค)
เขตเลือกตั้งที่ 10 อำาเภอนำ้ายืน อำาเภอนำ้าขุ่น อำาเภอทุ่งศรีอุดม อำาเภอสำาโรง อำาเภอเดชอุดม
(เฉพาะ ต.ทุ่งเทิง) สำารวจเมื่อ วันจันทร์ ที่ 4 มีนาคม 2562 และ วันพฤหัสบดี ที่ 7 มีนาคม 2562
จำานวนกลุ่มตัวอย่าง 3,146 ตัวอย่าง แยกเก็บข้อมูล 22 ตำาบล/เขต อปท. ผลการสำารวจก่อนเลือกตั้ง
พบว่า นายสมคิด เชื้อคง พรรคเพื่อไทย จะได้คะแนนเสียง ร้อยละ 49.7 รองลงมา นายประจักษ์ แสงคำา
พรรคพลังประชารัฐ จะได้คะแนนเสียง ร้อยละ 29.8 และนายเติม ศรีเนตร พรรคภูมิใจไทย จะได้คะแนนเสียง
ร้อยละ 3.2 ตามลำาดับ
ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2562 จ.อุบลราชธานี เขตเลือกตั้ง
ที่ 10 เขตเลือกตั้งที่ 10 อำาเภอนำ้ายืน อำาเภอนำ้าขุ่น อำาเภอทุ่งศรีอุดม อำาเภอสำาโรง อำาเภอเดชอุดม
(เฉพาะ ต.ทุ่งเทิง) ผู้ที่ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง คือ นายสมคิด เชื้อคง พรรคเพื่อไทย ได้ 36,657 คะแนน
(อันดับสอง คือ นายประจักษ์ แสงคำา พรรคพลังประชารัฐ ได้ 21,617 คะแนน และอันดับสาม คือ
นายเติม ศรีเนตร พรรคภูมิใจไทย ได้ 10,261 คะแนน ตามลำาดับ) จากจำานวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
148,435 คน จำานวนผู้มาแสดงตนขอใช้สิทธิเลือกตั้ง 108,287 คน คิดเป็นร้อยละ 72.95 มีจำานวนพรรคที่
ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งทั้งหมด 37 พรรค (ไม่มีพรรคถูกตัดสิทธิไม่ได้รับการประกาศชื่อเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง)
โดยสรุป ผลการสำารวจทัศนคติ แนวโน้มการตัดสินใจเลือกตั้งโดยการทำาแบบสำารวจการเลือกตั้ง
(Poll) เปรียบเทียบผลการสำารวจในช่วงก่อนการเลือกตั้ง กับผลคะแนนการเลือกตั้งจริง โดยการทำาโพล
การเลือกตั้ง ส.ส.อุบลราชธานี สำาหรับการเลือกตั้ง วันที่ 24 มีนาคม 2562 พบว่ามีความแม่นยำา
ประมาณ 70% กล่าวคือ จากการสำารวจทัศนคติ วัดความรู้สึก แนวโน้มการตัดสินใจก่อนวันเลือกตั้งจริง
(สำารวจประมาณ 1-6 สัปดาห์ก่อนเลือกตั้งจริง) พบว่า จากทั้งหมด 10 เขต เปรียบเทียบผลการสำารวจ
ในช่วงก่อนการเลือกตั้ง กับผลคะแนนการเลือกตั้งจริง พบว่า มีการเปลี่ยนแปลงแค่เพียง 3 เขตเลือกตั้ง
ขณะที่อีก 7 เขตเลือกตั้ง ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น สามารถคาดการณ์หรือตีความได้ว่า การลงพื้นที่หาเสียง
ด้วยรูปแบบวิธีการต่างๆ (รวมทั้งถูกกฎหมายและผิดกฎหมายการเลือกตั้ง) มีผลต่อการเปลี่ยนแปลง
พฤติกรรมในการตัดสินใจเลือกตั้งของประชาชนในจังหวัดอุบลราชธานีบางพื้นที่ แต่ถือเป็นส่วนน้อย