Page 199 - kpiebook63031
P. 199

การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562
           198      จังหวัดอุบลราชธานี







                      3) กำรเปลี่ยนแปลงของขั้วอ�ำนำจทำงกำรเมือง กำรย้ำยพรรคกำรเมือง และผลกำรเลือกตั้ง

             ที่เกิดขึ้น


                      การเปลี่ยนแปลงของขั้วอำานาจทางการเมือง การย้ายพรรคการเมือง ค้นพบว่า ผู้สมัครที่ย้าย
             พรรคการเมือง หรือเปลี่ยนแปลงขั้วอำานาจทางการเมืองจากพรรคเพื่อไทยไปสังกัดพรรคพลังประชารัฐ

             ประสบความล้มเหลวทั้งหมด ไม่ได้รับการเลือกตั้งเข้ามาแม้แต่คนเดียว ไม่ว่าจะเป็น นางสาวโยธากาญจน์
             ฟองงาม พรรคพลังประชารัฐ (บุตรสาวนายสุพล ฟองงาม อดีต ส.ส.อุบลราชธานี และอดีตเลขาธิการ

             พรรคเพื่อไทย) นายเชิดศักดิ์ โภคกุลกานนท์ บุตรชายของนายอดิศักดิ์ โภคกุลกานนท์ (อดีตสมาชิก
             สภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย) หรือนายสุทธิชัย จรูญเนตร อดีต ส.ส.พรรคเพื่อไทย

             ปี 2554 เป็นต้น




                      4) ปัจจัยที่ส่งผลต่อกำรตัดสินใจทำงกำรเมือง รวมทั้งกำรวิเครำะห์ผลกระทบกำรเลือกตั้ง

             ภำยใต้รัฐธรรมนูญใหม่ พ.ศ. 2560 ที่เกิดขึ้นในเขตจังหวัดอุบลรำชธำนี


                      ผลการวิจัยมีข้อค้นพบที่สำาคัญว่า ปัจจัยหลักที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินการเลือกตั้ง คือ (1) ปัจจัย
             ด้านพรรคที่สังกัด นโยบายของพรรค อุดมการณ์ทางการเมือง(พรรคที่สนับสนุนพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา

             กับพรรคที่ไม่สนับสนุนพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา) ผู้นำาพรรคที่จะเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรี (2) ปัจจัย
             ด้านการจ่ายเงินซื้อเสียง (3) ปัจจัยด้านตัวบุคคล ตามลำาดับ โดยพบหลักฐานเชิงประจักษ์ที่สำาคัญ คือ


                      4.1) ปัจจัยด้านพรรคที่สังกัด


                      ผู้สมัครที่ย้ายพรรคการเมือง หรือเปลี่ยนแปลงขั้วอำานาจทางการเมืองจากพรรคเพื่อไทยไปสังกัด

             พรรคพลังประชารัฐประสบความล้มเหลวทั้งหมด ไม่ได้รับการเลือกตั้งเข้ามาแม้แต่คนเดียว ไม่ว่าจะเป็น
             นางสาวโยธากาญจน์ ฟองงาม พรรคพลังประชารัฐ (บุตรสาวนายสุพล ฟองงาม อดีต ส.ส.อุบลราชธานี

             และอดีตเลขาธิการพรรคเพื่อไทย) นายเชิดศักดิ์ โภคกุลกานนท์ บุตรชายของนายอดิศักดิ์ โภคกุลกานนท์
             (อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย) หรือนายสุทธิชัย จรูญเนตร อดีต ส.ส.

             พรรคเพื่อไทย ปี 2554 เป็นต้น

                      ข้อมูลจากการลงพื้นที่โดยการสำารวจพฤติกรรมการเลือกตั้งผ่านการทำาโพลสำารวจทั้ง 10 เขต

             มีข้อค้นพบที่สำาคัญคือ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ชื่นชอบพรรคพลังประชารัฐ ในเขตจังหวัดอุบลราชธานี มักจะ

             เป็นผู้สูงวัย โดยมองว่าต้องการความสงบ ได้เงินบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ คาดหวังให้ช่วยปลดหนี้ และไถ่ถอน
             ที่ดินคืน ขณะที่วัยทำางานหรือวัยกลางคนส่วนใหญ่จะชื่นชอบพรรคเพื่อไทย เนื่องจากมีความเชื่อมั่น
             ในนโยบายทางด้านเศรษฐกิจ คาดหวังให้มาช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับรากหญ้า รวมทั้งแก้ไขปัญหา

             ยาเสพติดในชุมชนอย่างจริงจัง และประชาชนส่วนใหญ่ไม่ชื่นชอบในระบอบเผด็จการทหาร โดยมองว่า

             จะทำาให้เศรษฐกิจตกตำ่า ค้าขายไม่ได้เหมือนเดิม ทำาให้ไม่มีเงินใช้จ่ายและเป็นหนี้สิน
   194   195   196   197   198   199   200   201   202   203   204