Page 202 - kpiebook63031
P. 202

201







                  2. กำรอภิปรำยผล




                          การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562

                  จังหวัดอุบลราชธานี มีตัวอย่างงานวิจัยที่จะนำามาอภิปราย ถกเถียง เปรียบเทียบองค์ความรู้ที่เปลี่ยนแปลงไป
                  ตามเศรษฐกิจ สังคมและโครงสร้างทางการเมือง คือ งานของ สุเชาว์ มีหนองหว้า และ กิติรัตน์ สีหบัณฑ์ (2549)

                  ซึ่งศึกษา “นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุบลราชธานี” โดยศึกษานักการเมืองถิ่นจังหวัดอุบลราชธานี ตั้งแต่
                  พ.ศ. 2475 - ปัจจุบัน (พ.ศ. 2548) มีวัตถุประสงค์ของการศึกษาที่สำาคัญ คือ เพื่อรู้จักนักการเมืองที่เคยได้รับ

                  เลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจังหวัดอุบลราชธานีตั้งแต่อดีตจนกระทั่งปัจจุบัน เพื่อทราบถึง
                  เครือข่ายและความสัมพันธ์ของนักการเมืองในจังหวัดอุบลราชธานี บทบาทและความสัมพันธ์ของกลุ่ม

                  ผลประโยชน์ที่มีส่วนให้การสนับสนุนทางการเมืองแก่นักการเมืองในจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อทราบถึง
                  บทบาทและความสัมพันธ์ของพรรคการเมืองกับนักการเมืองในจังหวัดอุบลราชธานี และทราบถึงวิธีการ

                  หาเสียงในการเลือกตั้งของนักการเมืองในจังหวัดอุบลราชธานี ตั้งแต่อดีตจนกระทั่งปัจจุบัน ซึ่งการดำาเนิน
                  การศึกษาเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ดำาเนินการวิจัยโดยการศึกษาวิจัยการเอกสาร การเก็บข้อมูลจาก

                  การสัมภาษณ์สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานีและการใช้การสังเกตการณ์


                          จากการศึกษา พบว่า ตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศไทยมาสู่ระบอบ
                  ประชาธิปไตย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 และจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตั้งแต่ปี พ.ศ. 2476

                  เป็นต้นมาจนกระทั่งปัจจุบัน จังหวัดอุบลราชธานีในฐานะจังหวัดหนึ่งของประเทศไทย ก็เข้าสู่กระบวนการ
                  การเมืองการปกครองไทย โดยจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพื่อเข้าไปทำางานในรัฐสภา

                  เช่นเดียวกับจังหวัดอื่นๆ เช่นกัน อย่างไรก็ตาม เมื่อใช้เกณฑ์ภูมิหลังและอาชีพของนักการเมืองในจังหวัด
                  อุบลราชธานีตั้งแต่อดีตจนกระทั่งปัจจุบัน สามารถแบ่งได้เป็น 2 ยุค คือ ยุคของนักการเมืองที่เป็น

                  ข้าราชการ ระหว่างปี พ.ศ. 2476 - พ.ศ. 2514 และยุคของนักการเมืองที่เป็นนักธุรกิจ พ่อค้า ระหว่าง
                  ปี พ.ศ. 2518 – ปัจจุบัน


                          ในส่วนเครือข่ายของนักการเมืองในจังหวัดอุบลราชธานี และกลุ่มผลประโยชน์ที่มีส่วนให้
                  การสนับสนุนทางการเมืองแก่นักการเมืองในจังหวัดอุบลราชธานีนั้น นักการเมืองในจังหวัดอุบลราชธานี

                  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะหลังมีการรวมกันเป็นกลุ่มในบางช่วงบางขณะ เพื่อให้ความช่วยเหลือกัน

                  ในการเลือกตั้ง เช่น ในสมัยแรกๆ ภายหลังการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2518 เริ่มมีการรวมกลุ่มทางการเมือง
                  ที่มีนายสุทัศน์ เงินหมื่น เป็นผู้นำา ต่อมามีกลุ่มทางการเมืองที่มีนายประสิทธิ์ ณรงค์เดช และกลุ่มของ
                  นายไชยศิริ เรืองกาญจนเศรษฐ์ เป็นผู้นำา ส่วนในปัจจุบันในจังหวัดอุบลราชธานี มีกลุ่มการเมืองสำาคัญ

                  2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีนายปรีชา เลาหพงศ์ชนะ เป็นผู้นำากับกลุ่มที่มีนายเกรียง กัลป์ตินันท์ เป็นผู้นำา แม้ว่า

                  จะอยู่ในพรรคการเมืองเดียวกัน โดยกลุ่มการเมืองเหล่านี้จะลงสมัครในนามพรรคการเมืองเดียวกัน และ
                  เมื่อย้ายพรรคก็จะย้ายไปสังกัดพรรคใหม่คล้ายกัน ขณะเดียวกัน หัวหน้ากลุ่มก็อาจมีความสัมพันธ์ใกล้ชิด
                  กับนักการเมืองระดับชาติที่เป็นแกนนำาในระดับรองหัวหน้าหรือหัวหน้าพรรคการเมืองด้วย
   197   198   199   200   201   202   203   204   205   206   207