Page 204 - kpiebook63031
P. 204
203
ส่วนปัจจัยตัวบุคคล การลงพื้นที่หาเสียงของผู้สมัคร ส.ส. ยังเป็นตัวแปรที่เป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่ง
แต่จะต้องมีตัวแปรหรือปัจจัยด้านพรรคการเมืองที่สังกัดมาช่วยหนุนเสริมด้วย พิสูจน์ได้จากกรณี
การเปลี่ยนแปลงของขั้วอำานาจทางการเมือง การย้ายพรรคการเมือง ค้นพบว่า ผู้สมัครที่ย้ายพรรคการเมือง
หรือเปลี่ยนแปลงขั้วอำานาจทางการเมืองจากพรรคเพื่อไทยไปสังกัดพรรคพลังประชารัฐประสบความล้มเหลว
ทั้งหมด ไม่ได้รับการเลือกตั้งเข้ามาแม้แต่คนเดียว ไม่ว่าจะเป็น นางสาวโยธากาญจน์ ฟองงาม พรรค
พลังประชารัฐ (บุตรสาวนายสุพล ฟองงาม อดีต ส.ส.อุบลราชธานี และอดีตเลขาธิการพรรคเพื่อไทย)
นายเชิดศักดิ์ โภคกุลกานนท์ บุตรชายของนายอดิศักดิ์ โภคกุลกานนท์ (อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย) หรือนายสุทธิชัย จรูญเนตร อดีต ส.ส.พรรคเพื่อไทย ปี 2554 เป็นต้น
หรือ กรณีพรรคอนาคตใหม่ โดยคะแนนเสียงในการเลือกตั้งของผู้สมัคร ส.ส. พรรคอนาคตใหม่
ที่พบว่าหลายเขตเลือกตั้งคะแนนเสียงอยู่ในลำาดับที่ 3 เหนือพรรคภูมิใจไทย พรรคประชาธิปัตย์ และ
พรรคอื่นๆ หลายพรรค โดยเฉพาะในเขต 1 เขต 3 เขต 5 เขต 6 และ เขต 7 ถือได้ว่าเป็นปรากฏการณ์
กล่าวคือ แม้ว่าผู้สมัคร ส.ส. พรรคอนาคตใหม่จะเป็นผู้สมัครหน้าใหม่ไม่เป็นที่รู้จักมากนัก หรือบางแห่ง
ประชาชนไม่คุ้นหน้า ไม่เคยลงพื้นที่มาก่อน ไม่จำาเป็นต้องซื้อเสียง แต่ประชาชนก็ยังลงคะแนนให้ซึ่งได้รับ
อิทธิพลโดยตรงจากกระแสหัวหน้าพรรค คุณธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ด้วยนโยบายที่แปลกใหม่ท้าทายระบบเดิม
การนำาเสนอที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพผ่านสื่อกระแสใหม่ช่องทางต่างๆ
จุดอ่อนของงาน สุเชาว์ มีหนองหว้า และกิติรัตน์ สีหบัณฑ์ (2549) คือ การมองข้ามตัวแปรด้าน
พรรคการเมืองที่สังกัด หัวหน้าพรรค นโยบายของพรรค และแนวทางการดำาเนินกิจกรรมของพรรคการเมือง
ซึ่งเป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลและมีความสำาคัญอย่างยิ่งยวดต่อการตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง จังหวัดอุบลราชธานีในสองทศวรรษที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน
3. ข้อเสนอแนะ
จากการศึกษาการศึกษารูปแบบ วิธีการ และผลกระทบการเลือกตั้ง ภายใต้รัฐธรรมนูญ
พ.ศ. 2560 จ.อุบลราชธานี ค้นพบข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิจัยดังนี้
1) ตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง ควรผ่อนปรนหรือยกเลิกการกำาหนดค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้ง
ทั้งนี้ ตามประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง กำาหนดจำานวนเงินค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2562) ได้กำาหนด
ให้ในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกภายหลังวันที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 ใช้บังคับ กำาหนดให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบ
แบ่งเขตเลือกตั้งแต่ละคนต้องใช้จ่ายในการเลือกตั้งไม่เกินคนละ 1,500,000 บาท (หนึ่งล้านห้าแสนบาทถ้วน)