Page 203 - kpiebook63031
P. 203

การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562
          202       จังหวัดอุบลราชธานี







                      ในส่วนรูปแบบและวิธีการหาเสียงของนักการเมืองถิ่นในจังหวัดอุบลราชธานี ของสุเชาว์ มีหนองหว้า

             และกิติรัตน์ สีหบัณฑ์ (2549) พบว่า รูปแบบวิธีการหาเสียงของนักการเมืองที่ได้รับเลือกตั้งในสมัยแรก
             ที่มีการเลือกตั้งกับในปัจจุบันแตกต่างกัน กล่าวคือ ในสมัยแรกจากการเลือกตั้งของจังหวัดอุบลราชธานี

             ที่มีนักการเมืองได้รับเลือกตั้ง เช่น นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ นายเลียง ไชยกาล นายฟอง สิทธิธรรม
             การหาเสียงใช้รูปแบบของการออกปราศรัยตามท้องถิ่นต่างๆ ในเขตเลือกตั้ง และการใช้กลุ่มเครือญาติ

             เพื่อนสนิทช่วยในการหาเสียง แต่รูปแบบและวิธีการหาเสียงของนักการเมืองในจังหวัดอุบลราชธานีในยุค
             ปัจจุบันเปลี่ยนไปจากเดิมเป็นการใช้การจัดตั้งระบบหัวคะแนนในหมู่บ้านและชุมชนกระจายครอบคลุม

             เขตเลือกตั้ง ซึ่งปัจจัยเกี่ยวกับความสามารถในการจัดตั้งหัวคะแนนจัดได้ว่าเป็นปัจจัยชี้ขาดสำาคัญ
             ที่จะทำาให้ผู้สมัครได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง นอกจากนี้ ผู้สมัครยังจะต้องมีความสามารถและเอาใจใส่

             ต่อการให้บริการประชาชนในเขตเลือกตั้ง เช่น การดูแลทุกข์สุขของประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน
             ที่มาขอความช่วยเหลือจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง การเข้าร่วมในกิจกรรม

             งานบุญประเพณีที่ชาวบ้านในชุมชนจัดขึ้น อย่างสมำ่าเสมอตลอดเวลา ซึ่งรูปแบบและวิธีการหาเสียง
             ดังกล่าวสำาคัญมาก อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้สมัครที่เป็นคนมีความรู้ความสามารถ

             คบง่าย พึ่งพาได้ ก็เป็นปัจจัยที่สำาคัญประกอบกัน


                      แต่ผลจากการศึกษารูปแบบ วิธีการ และผลกระทบการเลือกตั้ง ภายใต้รัฐธรรมนูญ
             พ.ศ. 2560 สำาหรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง จังหวัดอุบลราชธานี

             เมื่อวันอาทิตย์ ที่ 24 มีนาคม 2562 ได้ข้อค้นพบที่แตกต่างออกไปจากงานของสุเชาว์ มีหนองหว้า และ
             กิติรัตน์ สีหบัณฑ์ (2549) ที่สรุปว่า รูปแบบและวิธีการหาเสียงของนักการเมืองในจังหวัดอุบลราชธานี

             ในยุคปัจจุบันเปลี่ยนไปจากเดิมเป็นการใช้การจัดตั้งระบบหัวคะแนนในหมู่บ้านและชุมชนกระจายครอบคลุม
             เขตเลือกตั้ง ซึ่งปัจจัยเกี่ยวกับความสามารถในการจัดตั้งหัวคะแนนจัดได้ว่าเป็นปัจจัยชี้ขาดสำาคัญที่จะ

             ทำาให้ผู้สมัครได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง นอกจากนี้ ผู้สมัครยังจะต้องมีความสามารถและเอาใจใส่ต่อ
             การให้บริการประชาชนในเขตเลือกตั้ง


                      ซึ่งข้อค้นพบที่แตกต่างออกไปจากงานดังกล่าว คือ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
             แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันอาทิตย์ ที่ 24 มีนาคม 2562 พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อ

             การตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญใหม่ พ.ศ. 2560

             มากที่สุด คือ ปัจจัยด้านพรรคที่สังกัด นโยบายของพรรค อุดมการณ์ทางการเมือง(พรรคที่สนับสนุน
             พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา กับพรรคที่ไม่สนับสนุนพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา)


                      ขณะที่ปัจจัยหรือตัวแปรด้านการจัดตั้งระบบหัวคะแนนในหมู่บ้านและชุมชนกระจายครอบคลุม
             เขตเลือกตั้งเพื่อจ่ายเงินซื้อเสียงที่เหนือกว่าคู่แข่ง ไม่สามารถเป็นปัจจัยตัดสิน หรือเป็นเงื่อนไขที่จำาเป็น

             และเพียงพอ (Necessary and Sufficient Conditions ; NSC) ที่จะทำาให้ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง
             ในจังหวัดอุบลราชธานีอีกต่อไป
   198   199   200   201   202   203   204   205   206   207   208