Page 198 - kpiebook63031
P. 198
197
ข้อค้นพบเมื่อพิจารณาการใช้เงินเป็นรายเขต ทั้ง 10 เขต พบว่า พรรคอันดับรองลงมา ได้แก่ พรรค
ประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย และพรรคอนาคตใหม่ (ยกเว้นพรรคเพื่อไทย และพรรคพลังประชารัฐ ที่ให้
ความสำาคัญกับทุกเขต) จะกำาหนดยุทธศาสตร์โดยเลือกทุ่มทรัพยากรลงในเขตพื้นที่ที่มีการประเมินแล้วว่า
พรรคของตนจะมีโอกาสเบียดคู่แข่งชนะการเลือกตั้ง หรือสามารถแบ่งคะแนนเสียงมาได้อย่างเป็นกอบ
เป็นกำา ส่วนเขตที่คิดว่าจะไม่มีโอกาสชนะการเลือกตั้ง ค่าใช้จ่ายในการหาเสียงจะลดลงอย่างมีนัยสำาคัญ
การศึกษาพฤติกรรมการใช้ทรัพยากรต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องค่าใช้จ่าย เพื่อให้เห็นมูลค่า
ของการใช้จ่ายในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดอุบลราชธานี ผลของ
การบังคับใช้มาตรการควบคุมค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งตามกฎหมายใหม่ อิทธิพลของการใช้จ่ายเงินของ
ผู้สมัครและพรรคการเมืองมีต่อประชาชน และผลของการเลือกตั้ง ทั้งการใช้จ่ายเงินที่ถูกกฎหมาย (รายงาน
ต่อ กกต.) และไม่ถูกกฎหมาย การซื้อสิทธิขายเสียง โดยมีข้อค้นพบที่สำาคัญ คือ
การใช้เงินซื้อเสียง กรณีการหาเสียงก่อนการเลือกตั้ง วันที่ 24 มีนาคม 2562 จังหวัดอุบลราชธานี
พบการใช้เงินซื้อเสียงอย่างแพร่หลายของพรรคการเมืองหนึ่ง (แบบปูพรม) เกือบทุกพื้นที่ของจังหวัด รายละ
200-500 บาท โดยบางพื้นที่พบการจ่ายเงินซื้อเสียง 2-3 รอบ ขณะที่บางพื้นที่พบการจ่ายเงินซื้อเสียง
แบบประกบคู่สองพรรค กล่าวคือ หากไม่ชอบพรรคแรก ก็ให้เลือกอีกหนึ่งพรรคซึ่งเป็นพรรคพันธมิตรกัน
การจ่ายเงินซื้อเสียงจะให้หัวคะแนนในหมู่บ้านเดินจ่ายตามบ้าน หรือนัดมารับ หรือจ่ายในช่วงการนำา
ประชาชนเข้าร่วมฟังปราศรัยของพรรคการเมือง ทั้งเวทีย่อยและการปราศรัยใหญ่ของพรรคในจังหวัด
อุบลราชธานี ช่วงเวลาการจ่ายเงิน พบเป็นช่วงเวลาเช้ามืดเป็นต้นไป ของวันที่ 23 มีนาคม 2562 ก่อน
เลือกตั้ง 1 วัน ส่วนการจ่ายเงินก่อนหน้านี้ พบว่าจะจ่ายเงินช่วงเวลากลางวันโดยส่วนใหญ่
ส่วนการซื้อเสียงโดยการให้สิ่งของหรือแลกเปลี่ยนผลประโยชน์อื่น พบได้น้อย นอกจากการให้
คำามั่นสัญญาว่า เมื่อได้เลือกตั้งเข้าไปแล้วจะให้ผลประโยชน์อื่นเพิ่มเติม พบกรณีการหาเสียงกับบุคลากร
ทางการศึกษา (สพฐ.)
การลงพื้นที่หาเสียง พบว่า เกิดความไม่ยุติธรรมในการลงพื้นที่หาเสียง กล่าว คือ หน่วยราชการ
บางแห่งไม่เปิดโอกาสให้บางพรรคการเมืองเข้าไปใช้สถานที่หาเสียง เช่น กรณีข่าวการถูกยกเลิกการให้ใช้
สถานที่ของหน่วยราชการแห่งหนึ่งใน อ.เดชอุดม หรือ การถูกปฏิเสธไม่ให้เข้าไปหาเสียงในเขตราชการ
แห่งหนึ่งใน อ.วารินชำาราบ) และในหมู่บ้านบางแห่งในเขต อ.วารินชำาราบ
การเอื้อประโยชน์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบางแห่งต่อผู้สมัครรับเลือกตั้งบางพรรค
อาทิ พบกรณีสมาชิกสภาเทศบาลบางแห่งเป็นหัวคะแนนให้กับผู้สมัครบางพรรค การให้ผู้สมัครบางพรรค
มาปรากฏตัวเพื่อหาเสียงในงานที่ทางราชการได้จัดขึ้น โดยกำาหนดให้มาแค่พรรคเดียว รวมทั้งการใช้
ผู้นำาชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ช่วยเป็นหัวคะแนน และดำาเนินการแจกเงินซื้อเสียง เป็นต้น
พบกรณีการใช้กำาลัง ประมาณ 5-6 คน เข้าตรวจค้นที่ทำาการบางพรรคการเมือง และบ้าน
หัวคะแนนสำาคัญ ในเขตเลือกตั้งที่ 5 และ เขตเลือกตั้งที่ 7 ของจังหวัดอุบลราชธานี ช่วงวันที่
20-21 มีนาคม 2562 เป็นต้น