Page 12 - kpiebook63031
P. 12
11
โดยเฉพาะในเขต 1 เขต 3 เขต 5 เขต 6 และ เขต 7 ถือได้ว่าเป็นปรากฏการณ์ กล่าวคือ แม้ว่าผู้สมัคร
ส.ส. พรรคอนาคตใหม่จะเป็นผู้สมัครหน้าใหม่ไม่เป็นที่รู้จักมากนัก หรือบางแห่งประชาชนไม่คุ้นหน้า
ไม่เคยลงพื้นที่มาก่อน ไม่จำาเป็นต้องซื้อเสียง แต่ประชาชนก็ยังลงคะแนนให้ซึ่งได้รับอิทธิพลโดยตรงจาก
กระแสหัวหน้าพรรค คุณธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ด้วยนโยบายที่แปลกใหม่ท้าทายระบบเดิม การนำาเสนอที่
เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพผ่านสื่อกระแสใหม่ช่องทางต่างๆ
4.2) การจ่ายเงินซื้อเสียง
การศึกษาครั้งนี้ ค้นพบว่า การเลือกตั้ง ส.ส.เมื่อวัน 24 มีนาคม 2562 การจ่ายเงินซื้อเสียง
ที่เหนือคู่แข่งเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถเป็นปัจจัยตัดสิน หรือเป็นเงื่อนไขที่จำาเป็นและเพียงพอ
(Necessary and Sufficient Conditions ; NSC) ที่จะทำาให้ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งในจังหวัดอุบลราชธานี
อีกต่อไป ทั้งนี้ จากการลงพื้นที่ศึกษา ค้นพบว่า ในการเลือกตั้งครั้งนี้ มีการจ่ายเงินซื้อเสียงอย่างแพร่หลาย
โดยพรรคการเมืองกลุ่มหนึ่งซึ่งเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปในจังหวัดอุบลราชธานี โดยพบการใช้เงินซื้อเสียง
อย่างแพร่หลาย(แบบปูพรม) เกือบทุกพื้นที่ของจังหวัด เฉลี่ยรายละ 200-500 บาท
ขณะที่บางพื้นที่พบการจ่ายเงินซื้อเสียงแบบประกบคู่สองพรรค กล่าวคือ หากไม่ชอบพรรคแรก
ก็ให้เลือกอีกหนึ่งพรรคซึ่งเป็นพรรคพันธมิตรกัน โดยการจ่ายเงินซื้อเสียงจะให้หัวคะแนนในหมู่บ้านเดินจ่าย
ตามบ้าน หรือนัดมารับ หรือจ่ายในช่วงการนำาประชาชนเข้าร่วมฟังปราศรัยของพรรคการเมือง ทั้งเวทีย่อย
และการปราศรัยใหญ่ของพรรคในจังหวัดอุบลราชธานี ช่วงเวลาการจ่ายเงิน พบว่าส่วนใหญ่จะจ่าย
รอบสุดท้ายวันที่ 23 มีนาคม 2562 ก่อนวันเลือกตั้งจริง 1 วัน (บางพื้นที่พบการจ่ายเงินซื้อเสียงมากกว่า
หนึ่งรอบ) ซึ่งผลการเลือกตั้งปรากฏว่า พรรคและผู้สมัครที่ใช้เงินซื้อเสียงอย่างแพร่หลายในจังหวัด
อุบลราชธานีไม่ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งในภาพรวม แต่สามารถเก็บคะแนนเพื่อนำาไปช่วยคำานวณ
สัดส่วน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อได้เป็นกอบเป็นกำา แต่ไม่สามารถชนะการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งที่
ใช้บัตรเลือกตั้งแบบใบเดียวโดยส่วนใหญ่ในจังหวัดอุบลราชธานีได้
โดยข้อมูลจากการสัมภาษณ์นักการเมืองผู้ชนะการเลือกตั้ง ผู้สมัครการเลือกตั้ง และหัวคะแนน
ที่เกี่ยวข้องต่างสะท้อนความเห็นที่สอดคล้องกันว่า นับวันอิทธิพลของการจ่ายเงินซื้อเสียงในการเลือกตั้ง
ส.ส.ในเขตจังหวัดอุบลราชธานีจะยิ่งลดความสำาคัญลงเรื่อยๆ โดยกลุ่มตัวอย่างผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่
วิเคราะห์ว่า ปัจจัยเรื่องเงินซื้อเสียงจะมีผลแค่เพียงร้อยละ 10-20 เท่านั้น
4.3) ปัจจัยตัวบุคคล ข้อมูลจากการสัมภาษณ์นักการเมืองผู้ชนะการเลือกตั้ง และผู้แพ้การเลือกตั้ง
ยืนยันตรงกันว่า ปัจจัยตัวบุคคล การลงพื้นที่หาเสียงของผู้สมัคร ส.ส. ยังเป็นตัวแปรที่เป็นองค์ประกอบ
สำาคัญที่จะชนะการเลือกตั้ง ทั้งนี้พบว่า การลงพื้นที่หาเสียง ส.ส.ของจังหวัดอุบลราชธานี ในการเลือกตั้ง
ปี 2562 เกิดความไม่ยุติธรรมในการลงพื้นที่หาเสียงบางเขต กล่าวคือ หน่วยราชการบางแห่งไม่เปิดโอกาส
ให้บางพรรคการเมืองเข้าไปใช้สถานที่หาเสียงได้อย่างสะดวก พบได้จากข่าวการยกเลิกให้ใช้อาคารสถานที่