Page 9 - kpiebook63031
P. 9
การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562
8 จังหวัดอุบลราชธานี
บทคัดย่อ
การศึกษารูปแบบ วิธีการ และผลกระทบการเลือกตั้ง ภายใต้รัฐธรรมนูญใหม่ จ.อุบลราชธานี
มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา 4 ประการคือ (1) เพื่อศึกษาทัศนคติ วัดความรู้สึก แนวโน้มการตัดสินใจเลือกตั้ง
โดยการทำาแบบสำารวจการเลือกตั้ง (Poll) เปรียบเทียบผลการสำารวจในช่วงก่อนการเลือกตั้ง กับผลคะแนน
การเลือกตั้งจริง วิเคราะห์ผลที่เกิดขึ้น (2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้ทรัพยากรต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ในเรื่องค่าใช้จ่าย เพื่อให้เห็นมูลค่าของการใช้จ่ายในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ในจังหวัดอุบลราชธานี (3) เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของขั้วอำานาจทางการเมือง การย้ายพรรคการเมือง
และผลการเลือกตั้งที่เกิดขึ้น และ (4) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจทางการเมือง และผลกระทบ
การเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญใหม่ พ.ศ. 2560 จังหวัดอุบลราชธานี
ขอบเขตด้านเวลาของการศึกษาประกอบไปด้วย การศึกษาตั้งแต่ช่วงก่อนการเลือกตั้ง
ช่วงระหว่างการมีพระราชกฤษฎีกากำาหนดให้มีการเลือกตั้ง วันเลือกตั้ง และภายหลังจากคณะกรรมการ
เลือกตั้งประกาศรับรองผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการในจังหวัดอุบลราชธานี ระยะเวลาทำาการศึกษา
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2561 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2562 ระเบียบวิธีการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ
รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม เอกสาร ข้อมูลจากสื่อ
และช่องทางต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาค้นพบว่า
1) ทัศนคติ วัดความรู้สึก แนวโน้มการตัดสินใจเลือกตั้งโดยการทำาแบบสำารวจการเลือกตั้ง (Poll)
เปรียบเทียบผลการสำารวจในช่วงก่อนการเลือกตั้ง กับผลคะแนนการเลือกตั้งจริง วิเคราะห์ผลที่เกิดขึ้น
ผลการสำารวจทัศนคติ ความรู้สึก แนวโน้มการตัดสินใจเลือกตั้งโดยการทำาแบบสำารวจ
การเลือกตั้ง (Poll) เปรียบเทียบผลการสำารวจในช่วงก่อนการเลือกตั้ง กับผลคะแนนการเลือกตั้งจริง
โดยการทำาโพลสำารวจการเลือกตั้ง ส.ส.อุบลราชธานี (เก็บข้อมูลในช่วงระหว่างวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2562
ถึงวันที่ 17 มีนาคม 2562 ก่อนวันเลือกตั้งจริงทั้ง 10 เขต) พบว่า มีความแม่นยำาประมาณ 70%