Page 6 - kpiebook63031
P. 6

5







                  ค�ำน�ำผู้เขียน

























                          เป้าหมายสูงสุดของการศึกษารูปแบบ วิธีการ และผลกระทบการเลือกตั้ง ภายใต้รัฐธรรมนูญใหม่

                  จ.อุบลราชธานี เพื่อให้เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการทำาความเข้าใจทัศนคติ ความรู้สึก การตัดสินใจเลือกตั้ง

                  โดยการทำาแบบสำารวจการเลือกตั้ง (Poll) เปรียบเทียบผลการสำารวจในช่วงก่อนการเลือกตั้ง กับผลคะแนน
                  การเลือกตั้งจริง พฤติกรรมการใช้ทรัพยากรต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องค่าใช้จ่าย เพื่อให้เห็นมูลค่า
                  ของการใช้จ่ายในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจทางการเมือง รวมทั้ง

                  การวิเคราะห์ผลกระทบการเลือกตั้ง ภายใต้รัฐธรรมนูญใหม่ พ.ศ. 2560 ที่เกิดขึ้นในเขตจังหวัดอุบลราชธานี

                  โดยมีความมุ่งหวังว่างานศึกษาเล่มนี้จะเป็นข้อมูลสารสนเทศทางเลือกอีกเล่มหนึ่งที่มีการรวบรวม
                  ข้อมูลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ยุคปี พ.ศ. 2562 อย่างเป็นระบบเพื่อใช้เป็นทรัพยากร
                  ข้อมูลเปรียบเทียบ สำาหรับผู้ที่ต้องการศึกษาและผู้เกี่ยวข้องในการออกแบบกฎกติกาการเลือกตั้ง

                  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต่อไปในอนาคต


                          องค์ความรู้และพฤติกรรมการเลือกตั้งของประชาชนและนักการเมืองมีการเปลี่ยนแปลงอยู่

                  ตลอดเวลา ดังนั้น การมองปัญหาทางการเมืองแบบเดิม ผ่านมุมมองของกลุ่มชนชั้นนำาแบบเดิมๆ ที่ยัง
                  อ้างกระบวนทัศน์แบบรวมศูนย์อำานาจเพราะเกรงว่ากลุ่มตนจะสูญเสียอำานาจ การพยายามกุมความ
                  ได้เปรียบทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง การเห็นคนไม่เท่าเทียมกัน นำาไปสู่การออกแบบกฎ กติกา

                  วิธีการเลือกตั้ง และโครงสร้างทางการเมืองที่ลดทอนโอกาสของประชาชนในภาพรวม เกิดข้อคำาถาม

                  ข้อสงสัยถึงความไม่ชอบมาพากลตามมาอีกหลายประการ

                          การอ้างปัญหาการซื้อสิทธิ์ขายเสียงของประชาชนในต่างจังหวัดว่าเป็นเพราะประชาชนโง่

                  จน เจ็บ ขาดการศึกษา ขาดการพัฒนา หรืออ้างว่าประชาชนยังไม่มีความรู้ที่จะพิจารณาเลือกตัวแทน
                  ของตนเอง เป็นข้ออ้างที่ล้าหลังและฟังไม่ขึ้นอีกต่อไป เป็นตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นถึงความมีอคติทั้งโดย

                  ตั้งใจและไม่ตั้งใจ โดยปราศจากการวิเคราะห์พิจารณาอย่างเปิดกว้างและเท่าเทียม
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11