Page 10 - kpiebook63031
P. 10
9
กล่าวคือ จากการสำารวจทัศนคติ วัดความรู้สึก แนวโน้มการตัดสินใจก่อนวันเลือกตั้งจริง (สำารวจ
ประมาณ 1-6 สัปดาห์ก่อนเลือกตั้งจริง) พบว่า จากทั้งหมด 10 เขต เปรียบเทียบผลการสำารวจในช่วงก่อน
การเลือกตั้ง กับผลคะแนนการเลือกตั้งจริง พบว่า มีการเปลี่ยนแปลงแค่เพียง 3 เขตเลือกตั้ง ขณะที่อีก
7 เขตเลือกตั้ง ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น สามารถคาดการณ์หรือตีความได้ว่า การลงพื้นที่หาเสียงด้วย
รูปแบบวิธีการต่างๆ (รวมทั้งถูกกฎหมายและผิดกฎหมายการเลือกตั้ง) มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
ในการตัดสินใจเลือกตั้งของประชาชนในจังหวัดอุบลราชธานีบางพื้นที่ แต่ถือเป็นส่วนน้อย
2) การใช้จ่ายในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดอุบลราชธานี
ผลการตรวจสอบรายการค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้ง ของผู้สมัคร ส.ส. จากสำานักงานคณะกรรมการ
การเลือกตั้งประจำาจังหวัดอุบลราชธานี นำาเสนอเฉพาะพรรคการเมืองสำาคัญที่มีโอกาสชนะการเลือกตั้ง
ประกอบด้วย ผู้สมัคร ส.ส. พรรคเพื่อไทย ผู้สมัคร ส.ส. พรรคพลังประชารัฐ ผู้สมัคร ส.ส. พรรค
ประชาธิปัตย์ ผู้สมัคร ส.ส.พรรคอนาคตใหม่ และผู้สมัคร ส.ส. พรรคภูมิใจไทย (ไม่นับรวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ
ที่ไม่ถูกกฎหมาย ที่ไม่มีหลักฐานหรือเอกสารยืนยันจากสำานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำาจังหวัด
อุบลราชธานี) ค้นพบว่า
จำานวนค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งของผู้สมัคร ส.ส. พรรคเพื่อไทย รวมทั้งสิ้น 10,313,914.40 บาท
เฉลี่ยค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งของผู้สมัคร ส.ส. พรรคเพื่อไทย ต่อ 1 คน คิดเป็น 1,031,391.44 บาท
ผู้สมัครที่มีค่าใช้จ่ายมากที่สุดของพรรคเพื่อไทย คือ นายวรสิทธิ์ กัลป์ตินันท์ เขตเลือกตั้งที่ 1 จำานวน
1,264,562.07 บาท โดยได้รับการเลือกตั้ง
จำานวนค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งของผู้สมัคร ส.ส. พรรคพลังประชารัฐ รวมทั้งสิ้น 9,975,017.49 บาท
เฉลี่ยค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งของผู้สมัคร ส.ส. พรรคพลังประชารัฐ ต่อ 1 คน คิดเป็น 997,501.75 บาท
ผู้สมัครที่มีค่าใช้จ่ายมากที่สุดของพรรคพลังประชารัฐ คือ นายประจักษ์ แสงคำา เขตเลือกตั้งที่ 10 จำานวน
1,316,972.55 บาท แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง
จำานวนค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งของผู้สมัคร ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ รวมทั้งสิ้น 6,279,476 บาท
เฉลี่ยค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งของผู้สมัคร ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ ต่อ 1 คน คิดเป็น 627,948 บาท
ผู้สมัครที่มีค่าใช้จ่ายมากที่สุดของพรรคประชาธิปัตย์ คือ นายวุฒิพงษ์ นามบุตร เขตเลือกตั้งที่ 2 จำานวน
1,320,000 บาท โดยได้รับการเลือกตั้ง
จำานวนค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งของผู้สมัคร ส.ส. พรรคอนาคตใหม่ รวมทั้งสิ้น 7,076,256.45 บาท
เฉลี่ยค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งของผู้สมัคร ส.ส. พรรคอนาคตใหม่ ต่อ 1 คน คิดเป็น 707,625 บาท
ผู้สมัครที่มีค่าใช้จ่ายมากที่สุดของพรรคอนาคตใหม่ คือ นายสถาพร ศรีแย้ม เขตเลือกตั้งที่ 3 จำานวน
1,386,840.60 บาท แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง