Page 42 - kpiebook63030
P. 42

41








                  ออกมาเป็นเงินทั้งหมด ซึ่งเงินลงทุนจำานวนนี้ นับวันแต่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นผู้ลงทุนจึงจำาเป็นต้องมี

                  การสะสมทุนเพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งครั้งต่อๆ ไป เป็นการปกป้องทุนและแสวงหาโอกาสใน
                  การขยายทุนต่อไป จึงเป็นสาเหตุของการคอร์รัปชัน เพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการต่อไป


                          ผาสุก พงษ์ไพจิตร (2548) ได้ให้นิยามของคำาว่า “ธนกิจการเมือง” (Money Politics) หมายถึง

                  กระบวนการที่นักการเมืองใช้เงินเพื่อผันตัวเองเป็น 1 ในคณะรัฐมนตรี เพื่อจะได้ใช้อภิสิทธิ์จากตำาแหน่ง
                  ดำาเนินการและกำาหนดนโยบาย เอื้อให้ตนเองและพรรคพวกแสวงหารายได้และกำาไรให้คุ้มกับการลงทุน

                  ที่เกิดขึ้น แหล่งรายได้สำาคัญที่ทำาธนกิจการเมืองคือ เข้าเกาะกุมและจัดสรรค่าเช่าทางเศรษฐกิจ
                  (Economic Rent) ซึ่งค่าเช่านี้ออกมาในรูปแบบ ใบอนุญาต สัมปทาน เงินอุดหนุน และสิทธิพิเศษต่างๆ

                  ซึ่งอำานาจรัฐจะให้สิทธิต่างๆ เหล่านี้ทำาให้นักการเมืองและพรรคพวกสามารถแสวงหากำาไรในอัตราที่
                  มากกว่าระดับปกติที่เกิดขึ้นในตลาดแข่งขันทั่วๆ ไป


                          กลุ่มทุนคือ กลุ่มผลประโยชน์กลุ่มหนึ่งที่มีบทบาทและแสดงสถานะของตนอยู่ตลอดเวลา
                  อีกทั้งยังมีการปรับเปลี่ยนหรือปรับกลยุทธ์อยู่เสมอ เพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่เกิดขึ้นอยู่

                  บ่อยครั้ง ในกรณีของประเทศไทยกลุ่มทุนจำาแนกออกเป็น 2 ประเภทคือ กลุ่มนายทุนไทย และกลุ่มนายทุน

                  ต่างชาติ ซึ่งทั้งสองกลุ่มนี้จะพยายามที่เข้ามามีส่วนผลักดันรัฐให้กำาหนดนโยบายอันเป็นผลประโยชน์ออกมา
                  สนองตอบต่อตนเองหรือพวกพ้องของตน โดยกลุ่มทุนไทยนี้จะแสดงพฤติกรรมเพื่อสร้างผลประโยชน์
                  ให้เกิดแก่กลุ่มของตนเองใน 2 ลักษณะใหญ่ๆ ประการแรกคือ การเป็นผู้ให้การสนับสนุนพรรคการเมือง

                  ทั้งในทางตรงและทางอ้อม โดยอาศัยกลไกภายในพรรคการเมืองให้สร้างนโยบายต่างๆ ที่เป็นประโยชน์

                  แก่กลุ่ม และประการที่สองคือ การที่กลุ่มนายทุนผันตัวเองเข้ามาเป็นนักการเมืองเพื่อผลักดันนโยบายที่
                  เป็นผลประโยชน์ ทั้งนี้หากพิจารณาให้ดีก็จะพบว่า ลักษณะของกลุ่มนายทุนไทยแบบแรกนั้นมีรากฐานที่
                  กระทำามานานแล้ว ดังที่เรียกว่าเป็นระบบจ่ายค่านำ้าร้อนนำ้าชาให้แก่ข้าราชการ หรือเจ้าขุนมูลนายในอดีต

                  เพียงแต่พฤติกรรมในลักษณะนี้ดูมีความชอบธรรมน้อยกว่ารูปแบบการจ่ายเงินสนับสนุนพรรคการเมืองที่

                  มีฐานรองรับจากกฎหมายรัฐธรรมนูญ ในแง่ที่พรรคสามารถรับเงินสนับสนุนจากผู้บริจาคได้

                          อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมของนายทุนได้เกิดการปรับเปลี่ยนมากขึ้น โดยใช้กลยุทธ์การผลักดัน

                  นโยบายทางตรงมากขึ้น โดยผันตนเองหรือตัวแทนของกลุ่มนายทุนเข้ากระทำาการ (active) เอง ดังจะพบว่า
                  ในช่วงเกือบ 3 ทศวรรษที่ผ่านมาสมาชิกพรรคการเมืองจำานวนไม่น้อยมาจากกลุ่มทุนได้ลงเล่นการเมือง

                  ด้วยตนเองมีจำานวนมากขึ้น มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำานวนไม่น้อยที่มีภาพในเบื้องหลังเป็นนักธุรกิจ
                  ชั้นนำาของประเทศมาก่อน กลุ่มธนกิจการเมืองเกิดขึ้นในประเทศไทย ด้วยความสัมพันธ์ทางอำานาจ

                  ระหว่างอำานาจการเมืองและอำานาจเศรษฐกิจที่มีความเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน จากปัจจัยทางสังคมของ
                  ไทยที่มีระบบรวมศูนย์อำานาจของทั้งสองอำานาจให้เป็นของชนชั้นปกครอง ทั้งสองกลุ่มมีการพึ่งพาอาศัย

                  ซึ่งกันและกัน โดยกลุ่มผู้ปกครองหรือชนชั้นนำาทางการเมืองต้องการแสวงหาความมั่งคั่ง ซึ่งต้องอาศัย
                  กลุ่มพ่อค้านักธุรกิจมาช่วยทำาการค้าให้กับตน ขณะที่กลุ่มพ่อค้านักธุรกิจต้องการอำานาจทางการเมือง

                  เพื่อช่วยคุ้มครองหรืออภิสิทธิ์ในการทางการค้าของตนด้วย ความสัมพันธ์ดังกล่าวสะท้อนออกมาในรูป
   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47