Page 40 - kpiebook63030
P. 40

39








                  ความรับผิดชอบต่อประชาชน เพราะว่าประชาชนเป็นผู้กำาหนดอนาคตทางการเมืองของตน ด้วยการเลือก

                  หรือไม่เลือกตนกลับมาทำาหน้าที่ผู้แทนอีก ดังนั้น การเลือกตั้งจึงมีผลต่อการพัฒนาทางการเมือง โดย
                  ประชาชนจะต้องสำานึกถึงความจำาเป็นในการปฏิบัติหน้าที่พลเมืองซึ่งต้องมีส่วนร่วมในการเลือกผู้แทน

                  เลือกรัฐบาล เลือกรูปแบบและวิธีดำาเนินการปกครอง เลือกนโยบายสาธารณะ เลือกระบบเศรษฐกิจซึ่ง
                  ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้จะเอื้อต่อการธำารงไว้และบูรณาการทางการเมืองที่พึงปรารถนา ตลอดจนส่งเสริม

                  ให้ประชาชนให้มีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยมากขึ้น การเลือกตั้งทุกระดับไม่ว่าจะ
                  เป็นการเลือกตั้งระดับชาติหรือระดับท้องถิ่นถือว่าเป็นวาระแห่งชาติการเลือกตั้งจึงเป็นกระบวนการ

                  ทางการเมืองที่สำาคัญยิ่งต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ดังนั้น เพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปตาม
                  เจตนารมณ์ของประชาชนและบรรลุวัตถุประสงค์ของแต่ละประเทศ จึงต้องพัฒนาปรับปรุงหรือปฏิรูประบบ

                  และกระบวนการเลือกตั้งให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทางการเมือง สังคม และเศรษฐกิจในปัจจุบัน


                          (3) ประเภทของการเลือกตั้ง

                          ชัยอนันต์ สมุทรวณิช (2524) แบ่งตามที่มาของการเลือกตั้ง เป็น 3 ประเภท คือ


                          1) การเลือกตั้งทั่วไป (General – Election) หมายถึงการเลือกตั้งที่ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง

                  ทั่วประเทศมาลงคะแนนเสียงพร้อมๆ กัน การเลือกตั้งทั่วไปมี 2 กรณี คือ ครบวาระที่จะต้องมีการเลือกตั้ง
                  และการยุบสภา ซึ่งการเลือกตั้งทั่วไปนี้จะเป็นเครื่องชี้วัดกระแสความคิดทางการเมืองของประชาชนได้เป็น

                  อย่างดี แต่จะชี้วัดได้มากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับระบบพรรคการเมืองของประเทศนั้นๆ อาทิเช่น ประเทศ
                  ในระบบสองพรรคการเมือง การเลือกตั้งทั่วไปจะเป็นกิจกรรมทางการเมืองที่เป็นเครื่องชี้วัดว่า ประชาชน

                  ยังคงสนับสนุนรัฐบาลเดิมต่อไปอีกหรือไม่ สำาหรับประเทศที่เป็นระบบหลายพรรคการเมือง ลักษณะ
                  การจัดตั้งรัฐบาลเป็นรัฐบาลผสม ผลการเลือกตั้งทั่วไปไม่อาจชี้วัดได้ชัดเจนว่า ประชาชนต้องการรัฐบาล

                  เดิมหรือรัฐบาลใหม่ได้ เพราะการจัดตั้งรัฐบาลขึ้นอยู่กับการรวบรวมเสียงข้างมากของพรรคการเมือง
                  ต่างๆ หลังจากการเลือกตั้งได้หรือไม่ อย่างไรก็ตาม การเลือกตั้งทั่วไปก็ยังเป็นภาพสะท้อนความคิดเห็น

                  วัฒนธรรมทางการเมือง และแนวโน้มของกระแสความคิดทางการเมืองของประชาชนในประเทศหรือ
                  ในเขตเลือกตั้งนั้นๆ ได้เป็นอย่างดี เช่น ความแตกต่างของจำานวนผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งในเขตเมืองกับชนบท

                  ปริมาณและลักษณะการซื้อสิทธิ ขายเสียงในเขตเลือกตั้งต่างๆ ความนิยมพรรคการเมืองใดพรรคการเมือง
                  หนึ่งในเขตกรุงเทพมหานครกับส่วนภูมิภาคอื่นๆ เป็นต้น


                          2) การเลือกตั้งซ่อม (By – Election) ในกรณีที่ผู้แทนขาดจากสมาชิกภาพ เช่น ตายลาออก

                  หรือเพราะเหตุอื่นๆ ก็จะมีการเลือกตั้งซ่อมให้ได้ผู้แทนราษฎร การเลือกตั้งซ่อมนี้อาจจะมีความสำาคัญ
                  ไม่เท่ากับการเลือกตั้งทั่วไป อย่างไรก็ตาม การเลือกตั้งซ่อมในเขตการเลือกตั้งที่ประชาชนมีความสนใจ

                  ทางการเมืองอยู่บ้างแล้ว การเลือกตั้งซ่อมก็จะเป็นเครื่องมือในการวัดความนิยมพรรคการเมืองใด
                  พรรคการเมืองหนึ่งหรือรัฐบาลได้
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45