Page 39 - kpiebook63030
P. 39
38 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมือง และพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562
จังหวัดปัตตานี
3.1.2 แนวคิดเกี่ยวกับการเลือกตั้ง
(1) ความหมายของการเลือกตั้ง นักวิชาการได้ให้ความหมายไว้ดังนี้
วิสุทธิ์ โพธิ์แท่น (พัฒนาประชาธิปไตย...พัฒนาการเมืองไทย สำานักงานเลขาธิการสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎร : 2554) ให้ความหมาย การเลือกตั้งว่าการที่บุคคลได้เลือกบุคคลหนึ่งหรือบุคคลหลายๆ คน
หรือเลือกจากบัญชีรายชื่อผู้เข้าสมัครรับเลือกตั้งบัญชีหนึ่ง หรือบัญชีจำานวนหนึ่งจากบัญชีรายชื่อ
หลายๆ บัญชีเพื่อให้ไปกระทำาการอันหนึ่งอันใดแทนตน
พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว (2540 : 217) ให้ความหมาย การเลือกตั้งว่าเป็นกิจกรรมที่สำาคัญยิ่งใน
กระบวนการทางการเมืองและการปกครอง เพราะการเลือกตั้งเป็นการแสดงออกซึ่งเจตจำานงของประชาชน
ในการปกครองประเทศ เจตจำานงดังกล่าวปรากฏอยู่ในลักษณะของการเรียกร้อง (Demand) หรือสนับสนุน
(Support) ต่อการตัดสินใจทั้งหลายในระบบการเมือง
(2) ความสำาคัญของการเลือกตั้ง
วัชรา ไชยสาร (2541) การเลือกตั้งตัวแทนประชาชนเป็นกระบวนการทางการเมืองอย่างหนึ่งใน
ระบบการปกครองที่เชื่อว่าอำานาจอธิปไตยหรืออำานาจสูงสุดในการปกครองเป็นของปวงชน ซึ่งคิดค้นขึ้น
แทนระบบการปกครองที่ถือคติอำานาจอธิปไตยเป็นของบุคคลใดเป็นพิเศษ เป็นเครื่องมือให้ความชอบธรรม
ในอำานาจปกครองของตน การเลือกตั้งเป็นกระบวนการที่เลือกสรรรัฐบาลที่จะทำาการปกครองและสร้าง
ความชอบธรรมให้แก่อำานาจการปกครองของผู้ปกครองให้เป็นไปโดยสันติการเลือกตั้งในประเทศที่มี
พรรคการเมืองหรือกลุ่มการเมืองมากกว่าหนึ่งพรรคหรือหนึ่งกลุ่มมีบทบาทสำาคัญในการยุติข้อขัดแย้งใน
ระบบการเมืองโดยเคารพและปฏิบัติตามกฎเกณฑ์กติกา และกติกาดังกล่าวจะทำาให้คู่ต่อสู้ทางการเมือง
ยอมรับผลการตัดสินของผู้เลือกตั้งโดยฝ่ายที่ชนะจะได้รับมอบอำานาจจากประชาชนให้ทำาการปกครองใน
ช่วงระยะเวลาที่กำาหนดไว้ ส่วนฝ่ายแพ้ก็จะหาทางเอาชนะในคราวต่อไปตามวิถีทางที่กฎเกณฑ์และกติกาได้
กำาหนดไว้ วิธีการเช่นนี้ช่วยอำานวยให้การสืบต่ออำานาจทางการเมืองและการปกครองเป็นไปอย่างสันติวิธี
ไม่ต้องอาศัยวิธีการที่ผิดกฎหมายและไม่ชอบธรรม เช่น การปฏิวัติรัฐประหารอันเป็นกลไกในการสับเปลี่ยน
อำานาจ ดังนั้นกระบวนการเลือกตั้ง ภายในเงื่อนไข ที่กล่าวมานี้จึงแตกต่างไปจากการเลือกตั้งในประเทศ
ที่มีพรรคการเมืองที่มีอำานาจและอิทธิพลมากที่สุดเพียงพรรคเดียว หรือกลุ่มคณะบุคคลเพียงคณะเดียว
ซึ่งใช้ในการเลือกตั้งเป็นข้ออ้างในการสร้างความชอบธรรมในอำานาจการปกครองเท่านั้นมิได้ใช้เป็นกลไก
เพื่อขจัดความขัดแย่งหรือเพื่อตัดสินการสืบต่ออำานาจแต่อย่างใด
การเลือกตั้งเป็นกลไกการใช้อำานาจอธิปไตยหรือการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนผู้เป็น
เจ้าของอำานาจอธิปไตยโดยการใช้สิทธิเลือกตั้งผู้แทนที่มีนโยบายตรงกับความต้องการของตนเอง ให้ไปใช้
อำานาจอธิปไตยแทนตนด้วยความชอบธรรม เพื่อลดภาวะความตึงเครียดขจัดความขัดแย้ง หรือการสืบต่อ
อำานาจและเป็นกลไกที่จะควบคุมให้ผู้แทนที่ดำารงตำาแหน่งจากการเลือกตั้งตระหนักอยู่เสมอว่าต้องมี