Page 38 - kpiebook63030
P. 38

37








                          สำาหรับทฤษฎีในการศึกษาพฤติกรรมกล่าวถึงทฤษฎีที่สำาคัญ 2 ทฤษฎี คือ


                          1) ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis theory) ผู้นำาเสนอทฤษฎีนี้คือ ซิกมันด์ ฟรอยด์

                  นักจิตวิทยาชาวออสเตรีย เขากล่าวถึงพฤติกรรมของมนุษย์ไว้ว่า พฤติกรรมเกิดจากพลังของจิต 2 ลักษณะ
                  คือ จิตสำานึก (Conscious) และจิตใต้สำานึก (Unconscious) นั่นคือพฤติกรรมที่แสดงออกมาถูกควบคุม

                  โดยจิตสำานึก แต่จิตสำานึกนั้นจะเกิดขึ้นได้ก็ต้องอาศัยแรงกระตุ้นผลักดันจากภายในอันได้แก่ จิตไร้สำานึก
                  ซึ่งเป็นที่รวมของความต้องการ ความปรารถนา และความเก็บกดต่างๆ ดังนั้นจิตใต้สำานึกจึงเป็นพลังงาน

                  อันก่อให้เกิดการแสดงพฤติกรรมต่างๆ ออกมา

                          2) ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม (Behavioral theory) กลุ่มทฤษฎีพฤติกรรมนิยมกลุ่มแรกที่ให้คำาอธิบาย

                  เกี่ยวกับบุคลิกภาพตามแนวคิดของทฤษฎีพฤติกรรมนิยม คือ พาฟลอฟ วัตสัน และ สกินเนอร์ ซึ่งได้

                  นำาเสนอทฤษฎีการเรียนรู้แบบคลาสสิก และลงมือกระทำา นักคิดในทฤษฎีกลุ่มนี้ไม่ค่อยให้ความเชื่อถือ
                  แรงจูงใจภายในตัวบุคคล ว่าเป็นปัจจัยสำาคัญในการกำาหนดลักษณะพฤติกรรมและบุคลิกภาพ แต่ให้
                  ความสนใจกับสิ่งเร้าภายนอก รวมทั้งกระบวนการให้การเสริมแรงมากกว่าโดยให้ความเห็นว่า บุคคลจะ

                  มีบุคลิกภาพเช่นไร ขึ้นอยู่กับเขาได้รับการเสริมแรงจากบุคคลและกลุ่มสังคมในวัยที่ผ่านมาอย่างไร เช่น

                  คนที่มีนิสัยก้าวร้าว อาจเกิดจากการที่เมื่อเขาก้าวร้าวแล้ว ได้รับการชื่นชม (เสริมแรงบวก) คนขี้อาย
                  อาจได้รับการชมเชยเมื่อแสดงความขี้อาย (เสริมแรงบวก) หรือถูกทำาโทษเมื่อแสดงตน (เสริมแรงบวก)
                  นอกจากนั้นแล้ว ทฤษฎียังเชื่อว่า พฤติกรรมหรือบุคลิกภาพของบุคคลเกิดจากการสังเกตตัวแบบ

                  แล้วมีการเลียนแบบเกิดขึ้น อย่างไรก็ดีนักทฤษฎีกลุ่มนี้มักถูกวิพากษ์ว่า อธิบายบุคลิกภาพของบุคคลอย่าง

                  ผิวเผิน โดยลืมนึกถึงพลังขับด้านชีวภาพและด้านความรู้ความคิดซึ่งเป็นพลังขับที่สำาคัญในการกำาหนด
                  ลักษณะพฤติกรรมและบุคลิกภาพของบุคคลเช่นเดียวกัน


                          สำาหรับแนวคิดพฤติกรรมในทางการเมืองนั้น เป็นการแสดงออกทางการเมือง ซึ่งจะมีผลก่อให้
                  เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ดังนั้นพฤติกรรมทางการเมือง จึงเกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางการเมือง

                  เช่น การเลือกตั้ง ได้แก่ การไปใช้สิทธิเลือกตั้ง การมีส่วนร่วมในการรณรงค์หาเสียง การเข้ารับสมัคร
                  รับเลือกตั้ง เป็นต้น การเข้าร่วมประชาพิจารณ์ การเข้าร่วมต่อสู้ทางการเมือง ซึ่งณรงค์ สินสวัสดิ์ กล่าวว่า

                  พฤติกรรมทางการเมืองของบุคคลเช่น การเข้าไปมีส่วนร่วมในทางการเมืองในระดับต่างๆ การไปลงคะแนน
                  เสียงเลือกตั้ง การช่วยพรรคการเมืองหาเสียง การลงสมัครรับเลือกตั้ง การเดินขบวนหรือแสดงออกซึ่ง

                  การคัดค้านรัฐบาล การเลือกพรรคการเมืองที่เห็นว่าดีที่สุด การเลือกอุดมการณ์ทางการเมืองที่เห็นว่า
                  ดีที่สุด รวมไปถึงพฤติกรรมของผู้นำาการเมือง เป็นต้น พฤติกรรมทางการเมืองที่มีลักษณะเด่นคือ การมี

                  ส่วนร่วมทางการเมือง
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43