Page 36 - kpiebook63030
P. 36
35
บทที่ 3
พฤติกรรมกำรเลือกตั้ง
3.1 แนวคิดพฤติกรรมและกำรเลือกตั้ง
ในการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมการเลือกตั้ง ได้กำาหนดแนวคิดและทฤษฎีไว้ 2 แนวคิดด้วยกัน
ได้แก่ แนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรม แนวคิดเกี่ยวกับการเลือกตั้งและเศรษฐศาสตร์การเมือง
3.1.1 แนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรม
พฤติกรรม หมายถึง การกระทำาหรือการที่แสดงออกทางกล้ามเนื้อ ความคิดและความรู้สึก
เพื่อตอบสนองสิ่งเร้า พฤติกรรมจัดเป็นกิจกรรมต่างๆ ที่อินทรีย์เป็นผู้กระทำา ทั้งที่แสดงออกมาให้เห็น
รวมทั้งที่ซ้อนเร้นไว้ภายใน และพฤติกรรมนั้นบุคคลอื่นสามารถสังเกตเห็นได้ดี เช่น การนอน การเคลื่อนไหว
อิริยาบถและกิริยาท่าทางต่างๆ จัดเป็นพฤติกรรมภายนอก ส่วนการกระทำาภายในบุคคล ซึ่งผู้อื่นไม่สามารถ
รับรู้ หรือสามารถสังเกตได้โดยตรง แต่ใช้เครื่องมือวัดได้ เช่น เราสามารถวัดความดันเลือด การเปิดของ
ม่านตา คลื่นสมอง แรงต้านทานไฟฟ้าของผิวหนัง เป็นต้น เหล่านี้จัดเป็นพฤติกรรมภายใน
ส่วน ทรงพล ภูมิพัฒน์ กล่าวถึงความหมายของพฤติกรรม คือ การแสดงออกซึ่งปฏิกิริยาอาการ
หรือ การกระทำาของมนุษย์(และสัตว์ด้วย) พฤติกรรมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. พฤติกรรมภายนอก (Overt Behavior) ได้แก่ พฤติกรรมที่ผู้อื่นสามารถสังเกต ได้โดยตรงจาก
ประสาททั้ง 5 ( หู ตา จมูก ปาก และผิวหนัง) พฤติกรรมภายนอก แยกได้เป็น