Page 37 - kpiebook63030
P. 37

36     การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมือง และพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562
                  จังหวัดปัตตานี






                      •   พฤติกรรมที่สังเกตได้โดยตรงไม่ต้องใช้เครื่องมือช่วย (บางท่านเรียกว่า พฤติกรรมโมล่าร์ :

                          Molar behavior) เช่น หัวเราะ ร้องไห้ อ้าปาก กระโดด


                      •   พฤติกรรมที่สังเกตได้โดยตรง โดยใช้เครื่องมือช่วย เรียกพฤติกรรมประเภทนี้ว่า พฤติกรรม
                          โมเลกุล(Molecular behavior) เช่น การเดินของหัวใจ , ความดันของโลหิต , ความต้านทาน

                          กระแสไฟฟ้าที่ผิวหนัง


                      2. พฤติกรรมภายใน (Covert Behavior) ได้แก่ พฤติกรรมที่เกิดขึ้นภายในตัวของบุคคล จะโดย
             รู้สึกตัวหรือไม่รู้สึกตัวก็ตาม ปกติผู้อื่นจะไม่สามารถสังเกตพฤติกรรมประเภทนี้ได้โดยตรง ถ้าไม่บอก
             ไม่แสดงออกมาให้เป็นที่สังเกต พฤติกรรมภายในจึงเป็นเรื่องของประสบการณ์ส่วนบุคคล (Private

             Experience) ตนเท่านั้นรู้ ตัวอย่างเช่น ความคิด ความจำา จินตนาการ ความฝัน และพฤติกรรมการรู้สึก

             ต่างๆ เช่น กลัว เสียใจ หิว เจ็บ เพลีย ฯลฯ

                      •   พฤติกรรมภายในที่เกิดขึ้นโดยรู้สึกตัว เช่น หิว เหนื่อย ตื่นเต้น ชื่นชม พฤติกรรมเหล่านี้

                          เจ้าของพฤติกรรมรู้สึกตัวว่ามันเกิด แต่เจ้าของพฤติกรรมอาจจะควบคุม หรือเก็บความรู้สึก
                          ต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ ไม่แสดงออกซึ่งกิริยาอาการหรือสัญญาณใดๆ


                      •   พฤติกรรมภายในที่เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว พฤติกรรมบางอย่างเกิดขึ้นภายใน โดยบางครั้ง

                          บุคคลไม่รู้สึกตัว แต่มีผลต่อพฤติกรรมภายนอกของบุคคลผู้นั้น เช่น ความขลาด หวาดกลัว
                          ความคิด ความคาดหวัง ความปรารถนา ความสุขใจ


                      ศันสนีย์ ตันติวิท (2543 : 33-34) ได้กล่าวถึงพฤติกรรมที่แตกต่างไปบ้าง แต่โดยความหมายแล้ว

             มีความสอดคล้องกันคือ พฤติกรรมบางอย่างเราสามารถรับรู้ได้ด้วยอวัยวะรับความรู้สึก (Sense organ)
             เช่นเวลาเรายืน นั่ง พูดคุย ดีใจ เสียใจ หรือโกรธ แต่พฤติกรรมบางอย่างเราสังเกตเห็นไม่ได้ อาจรู้ได้โดย

             มีเครื่องมือวัดพฤติกรรม เช่นเครื่องมือจับเท็จ เราอาจแบ่งพฤติกรรมเป็น 2 แบบ คือ


                      แบบที่ 1 Special pattern เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากการทำางานของร่างกายหลายๆ ส่วนร่วมกัน
             เช่น การเคลื่อนไหวของนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ เวลาถือของเล็กๆ


                      แบบที่ 2 Temporal pattern เป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการทำางานของร่างกายต่อเนื่องกัน เวลา

             ที่เรายื่นมือไปหยิบวัตถุ เราต้องใช้สายตามองดูวัตถุพร้อมกับยื่นมือไปหยิบวัตถุนั้น


                      กล่าวโดยสรุป พฤติกรรมเป็นการแสดงออกโดยรวมของสิ่งมีชีวิตต่างๆ ทั้งเป็นการแสดงออก
             ภายนอก และการแสดงออกภายใน การจะศึกษาพฤติกรรมให้เข้าใจจะต้องทำาความเข้าใจเกี่ยวทฤษฎี
             พฤติกรรมดังนี้
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42