Page 41 - kpiebook63030
P. 41

40     การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมือง และพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562
                  จังหวัดปัตตานี






                      3) การเลือกตั้งซำ้า (Re - Election) หมายถึงการเลือกตั้งที่จัดให้มีขึ้นในเขตเลือกตั้งใดเลือกตั้งหนึ่ง

             โดยเฉพาะ ซึ่งอาจจะเกิดจากการฟ้องร้องต่อศาลว่ามีการเลือกตั้งโดยมิชอบเพื่อขอให้ศาลสั่งให้มี
             การเลือกตั้งใหม่ถ้าศาลมีคำาพิพากษาว่าเขตการเลือกตั้งใดมีการเลือกตั้งที่มิชอบด้วยกฎหมายศาลจะมี

             คำาสั่งให้การเลือกตั้งครั้งนั้นเป็นโมฆะ และให้มีการจัดการเลือกตั้งใหม่ในระยะเวลาที่ศาลกำาหนด ผู้แทน
             คนใดได้รับเลือกตั้งก่อนศาลจะสั่งให้มีการเลือกตั้งนั้นเป็นโมฆะ จะพ้นจากตำาแหน่งตั้งแต่วันที่ศาลสั่ง

             ให้การเลือกตั้ง





                     3.1.3 ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมือง


                      เปลี่ยนแปลงในทางเศรษฐกิจและสังคม นับตั้งแต่ทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา ซึ่งสะท้อนให้เห็น

             ถึงการปรับโครงสร้างจากเศรษฐกิจที่พึ่งพาเกษตร สู่เศรษฐกิจที่พึ่งพาอุตสาหกรรมและบริการ สะท้อน

             ออกมาในรูปของความหลากหลายของกลุ่มผลประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นพ่อค้า นักธุรกิจต่างๆ ฯลฯ ส่งผลให้
             ระบบการเมืองไทยต้องเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้างอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทิศทางการเมืองของประเทศไทย
             กำาลังปรับเปลี่ยนจากระบบอำามาตยาธิปไตย (Bureaucratic Polity) ไปสู่ประชาธิปไตยพหุนิยม (Pluralistic

             Democracy) ที่เปิดโอกาสให้กลุ่มต่างๆ ในสังคมแข่งขันและสับเปลี่ยนขึ้นมามีอำานาจโดยไม่เปิดโอกาสให้

             กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมีการผูกขาดในเชิงอำานาจ


                      หลังปี พ.ศ. 2516 ระบบการเมืองไทยมีลักษณะพลวัต กล่าวคือ เป็นการเมืองที่มีผู้เล่นทาง
             การเมือง (Political players) มาจากหลายภาคส่วน อาทิ กลุ่มข้าราชการ กลุ่มนักการเมือง กลุ่มนายทุน
             นักธุรกิจ อย่างไรก็ตาม บทบาทของกลุ่มทุนยังคงจำากัดอยู่เช่นเดิม เป็นเพียงผู้ให้การสนับสนุนทางการเงิน

             อยู่เบื้องหลังพรรคการเมืองต่างๆ เท่านั้น แต่หลังจากที่ชนชั้นกลางในเมืองเรียกร้องประชาธิปไตยในปี

             พ.ศ. 2535 จนนำาไปสู่เหตุการณ์รุนแรงทางการเมืองในเดือนพฤษภาคมปีเดียวกัน และเป็นเงื่อนไขสำาคัญ
             ที่นำาไปสู่การได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญปี 2540 ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว เป็นกลไกเปิดช่องให้กลุ่มนายทุน
             นักธุรกิจก้าวเข้ามาสู่การเมืองแบบเต็มตัว โดยเฉพาะในช่วง พ.ศ. 2544 - 2549 เป็นช่วงที่กลุ่มทุนผูกขาด

             มีบทบาททางการเมืองโดยตรง ด้วยการรวมตัวกันตั้งพรรคการเมือง ลงสมัครรับเลือกตั้ง จนชนะการเลือกตั้ง

             แล้วจัดตั้งรัฐบาลขึ้นภายใต้ตัวแทนของกลุ่มทุนต่างๆ ประกอบกันเป็นคณะรัฐมนตรีบริหารประเทศ ทั้งนี้
             องค์ประกอบของคณะรัฐมนตรีถูกมองว่าเป็นรัฐบาลนายทุน มีลักษณะเป็นพวกพ้อง (Cronyism) และ
             ได้อำานาจรัฐมาโดยธนกิจการเมือง (Money Politics)


                      Money Politics เป็นต้นทุนเพื่อการชนะเลือกตั้ง (cost of winning elections) ภายใต้กระแส

             โลกาภิวัตน์ และอุดมการณ์ทางการเมืองทุนนิยมแบบเสรีประชาธิปไตย ซึ่งครอบงำาเศรษฐกิจและการเมือง
             ของโลกในขณะนี้ ทุกอย่างจะต้องเป็นประชาธิปไตย ต้องมาจากการเลือกตั้ง ทำาให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า

             อุตสาหกรรมการเลือกตั้ง (election industry) ในเมื่อเป็นอุตสาหกรรมก็จำาเป็นต้องมีเงินลงทุน (investment)
             ผู้ที่ลงทุนไปแล้วก็ต้องการผลตอบแทนกลับคืนมา (return on investment) ทุกสิ่งทุกอย่างจะถูกกำาหนด
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46