Page 47 - kpiebook63030
P. 47

46     การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมือง และพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562
                  จังหวัดปัตตานี






             ตนเชื่อว่าคนปัตตานีเหมือนคนภาคอื่นๆ ที่ได้เจอมา คือ ทนไม่ไหวกับปัญหาเศรษฐกิจปากท้อง คนจนมีแต่

             จนลง หนี้สินมากขึ้น ดังนั้น คนปัตตานีก็ต้องการเปลี่ยนแปลง ฉะนั้นวันที่ 24 มีนาคมมาเปลี่ยนแปลง
             ประเทศไทย มาดึงศักยภาพที่เรามีอยู่มาสร้างอนาคต อย่ามองใต้แค่ปัญหาความมั่นคงเพียงอย่างเดียว


                      2. ชาวปัตตานี แห่ฟัง อนาคตใหม่ ปราศรัย ‘ธนาธร’ ชู 3 แนวทางแก้ปัญหาความไม่สงบ


                      เมื่อเวลา 19.00 น. วันที่ 1 มี.ค. ที่ตลาดกรีนมาเก็ต ตรงข้าม มอ.ปัตตานี จ.ปัตตานี พรรค

             อนาคตใหม่ นำาโดย นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรค เปิดเวทีปราศรัยท่ามกลางประชาชน นักเรียน
             นักศึกษาที่มารอฟังการปราศรัยต้อนรับเนืองแน่น โดยนายธนาธรกล่าวว่า ขอขอบคุณชาวปัตตานีที่มาให้
             กำาลังใจ ตั้งแต่ตั้งเวทีปราศรัยมาทั่วประเทศ ที่นี่มีพี่น้องประชานมาต้อนรับเยอะที่สุด


                      นายธนาธร กล่าวว่า แนวทางการแก้ปัญหาสามจังหวัดชายแดนใต้ ตนไม่เชื่อในแนวทางที่

             นำาการทหารมาแก้ปัญหา หนำาซำ้ายิ่งทำาให้สถานการณ์แย่ลง ซึ่งพรรคอนาคตใหม่จะใช้วิธีการแก้ปัญหา
             สามจังหวัดชายแดนใต้คือ 1. แก้ปัญหาเศรษฐกิจและความเหลื่อมลำ้า 2. คืนอำานาจสู่ท้องถิ่น ให้ท้องถิ่น

             เป็นผู้บริหารจัดการตัวเอง และ 3. ใช้วิธีทางการทูตแก้ปัญหาและอย่ามองว่า ปัตตานีเป็นปัญหาและ
             เมืองแห่งความรุนแรง


                      3. ‘อนาคตใหม่’ ลงพื้นที่ปัตตานี สะท้อนปัญหา ‘ธุรกิจประมง’ ทรุดหนัก


                      นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ เดินทางลงพื้นที่จังหวัดปัตตานี และ

             ได้มีการรับฟังปัญหาของชาวประมง พร้อมทั้งเยี่ยมชมท่าเทียบเรือประมงปัตตานี องค์การสะพานปลา
             ซึ่งพบว่าบรรยากาศเงียบเหงา ไม่คึกคักเหมือนแต่ก่อน ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากพระราชกำาหนด (พ.ร.ก.)

             การประมง รวมถึงกฎหมายลูกอีกกว่า 200 ฉบับ ที่เข้ามากำาหนดมาตรฐานการทำาประมงพาณิชย์


                      นายปิยบุตร กล่าวว่า ตอนนี้ธุรกิจประมงแย่มาก จากการลงพื้นที่พบว่านักธุรกิจประมงหลายราย
             ขาดทุน หลายรายยกเลิกทำาประมงไปแล้ว ซึ่งเป็นผลกระทบต่อเนื่องมาจากมาตรการที่เราออกมาเพื่อให้

             สอดคล้องกับมาตรฐานของ ไอยูยู (IUU) โดยออกเป็น พ.ร.ก.การประมง พ.ศ. 2558 มีหลายเรื่องซึ่งวาง
             มาตรฐานโดยไม่ได้สอบถามชาวประมง ทำาให้พวกเขาปฏิบัติตามได้ยาก อีกทั้งถ้าไม่ปฏิบัติตามก็ยังเจอ

             โทษที่หนัก สบช่องให้เกิดการเรียกรับเงิน เกิดการทุจริตคอร์รัปชันของเจ้าหน้าที่รัฐ


                      ดังนั้นปัญหาที่เกิดขึ้นนี้สะท้อนโยงกลับมาที่การเข้ามาของรัฐบาล คสช. ซึ่งเป็นรัฐบาลที่ไม่
             ชอบธรรมในทางประชาธิปไตย เมื่อต้องการเจรจาระหว่างประเทศ ก็ทำาให้อำานาจในการต่อรองน้อยลง จะ

             เห็นว่ามาตรฐานของไอยูยูนั้น ในประเทศอื่นๆ อย่างเวียดนาม เขาเจรจาต่อรองได้ยืดเวลาไปได้หลายปี
             แต่เราด้วยความไม่เป็นประชาธิปไตย พอเจอใบเหลืองก็กังวลใจ จึงยอมรับทุกอย่างที่ไอยูยูกำาหนดมาใช้

             ทันทีเลย โดยที่ไม่สอบถามว่าธุรกิจประมงนั้นสามารถทำาได้หรือไม่
   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52