Page 107 - kpiebook63030
P. 107
106 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมือง และพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562
จังหวัดปัตตานี
“ประชาชนคุยเรื่องการเมืองกันมากในร้านน�้าชา ในโลก Social Media คนรุ่นใหม่ก็มีการโพสต์
ข้อความเรื่องการเมือง ทางทีมงาน Monitor ก็ดูข้อความต่างๆ เรื่องการเมืองด้วย ส�าหรับคนที่เล่น
Social Media มีทีมที่ท�าหน้าที่เกี่ยวกับ Monitor Social Media ก็แยกต่างหากที่มาช่วยงานสื่อท�า
กราฟฟิกต่างๆ เพราะข้อมูลที่เราได้ไม่ได้เปิดทั้งหมด” (สัมภาษณ์ ซาฮารี เจ๊ะหลง, ผู้ก่อตั้งโครงการ
Projek SAMA SAMA, 12 กรกฎาคม 2562)
สำาหรับคนรุ่นใหม่กับการเมืองการเลือกตั้งที่ผ่านมาถือว่ามีอิทธิพลอย่างมากต่อผลการเลือกตั้ง
เพราะมีจำานวนผู้ใช้สิทธิจำานวนมาก สำาหรับในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ก็เช่นกัน พรรคอนาคตใหม่
ก็เป็นพรรคที่มีกระแสความนิยมอย่างมาก ต่อคนรุ่นใหม่ โดยเฉพาะเรื่องของการเปลี่ยนวัฒนธรรมการเมือง
เรื่องของหัวคะแนน และการใช้เงินในกิจกรรมทางการเมือง อาจจะกล่าวได้ว่าเป็นการยกระดับการเมือง
ไทยในระยะเปลี่ยนผ่านที่สำาคัญอย่างยิ่ง
“กระแสคนรุ่นใหม่ที่เลือกพรรคอนาคตใหม่คือธนาธร ไม่ใช่ผู้สมัคร ผมได้สอบถามหลายคน
แม้กระทั่งนักศึกษาเองที่เลือกพรรคอนาคตใหม่ เขาไม่ได้รู้จักตัวผู้สมัคร แต่เลือกเพราะธนาธร ซึ่งเวทีที่จัด
ใหญ่สุดคือเวทีที่จัดบริเวณตลาด Green Market จุดนี้เป็นจุดที่สร้างกระแสให้กับพรรคอนาคตใหม่ ส�าหรับ
ในโซเชียลก็ต้องยอมรับว่าการเดินเกมของพรรคอนาคตใหม่เดินเกมได้ดีมาก คนรุ่นใหม่เข้าถึงได้ เกิดมี
ความได้เปรียบ ท�าให้ทุกพรรคต้องมานั่งคิด บอกว่าไม่สามารถที่จะประเมินได้ เพราะพรรคอนาคตใหม่
ไม่ใช้เงิน คือทางผมไม่มีข้อมูลการซื้อเสียงของพรรคอนาคตใหม่เลย เงินก็ใช้ แต่ใช้ในกิจกรรม ไม่มีแบบ
รายหัว คือถ้ามี ทางผมจะตรวจสอบได้” (สัมภาษณ์ ซาฮารี เจ๊ะหลง, ผู้ก่อตั้งโครงการ Projek SAMA
SAMA, 12 กรกฎาคม 2562)
ด้วยสถานะของบทบาทขององค์กรภาคประชาสังคมที่มีความชอบธรรมในการที่ไม่เอียงไปทาง
พรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง ทำาให้พวกเขาได้รับความไว้วางใจต่อผู้สมัครของพรรคการเมือง
ต่างๆ ทำาให้เกิดเวทีกลางที่ทำาให้พรรคต่างๆ ได้เข้ามาร่วมเสวนา แสดงความคิดเห็นทางด้านการเมือง
ในช่วงการหาเสียงที่ผ่านมา
“สังเกตเห็นว่าภาคประชาสังคมจะดึงนักการเมืองให้มาสนใจสิ่งที่ตนเองก�าลังท�า อย่าง
นักการเมืองก็มีฐานเสียงของตนเองอยู่แล้ว ความเดือดร้อนของมวลชนของเขา ประชาชนโดยรวม
แต่กลุ่มภาคประชาสังคมท�างานเป็นการเฉพาะ เช่น งานประเด็นผู้หญิง ประเด็นแม่หม้าย ประเด็น
เด็กก�าพร้า ประเด็นจ�าเลย ประเด็นเยาวชน เป็นต้น ซึ่งช่วยให้นักการเมืองได้ข้อมูลที่ลึกขึ้น เพราะกลุ่ม
CSO ท�างานอยู่กับประเด็นเฉพาะตลอด และเมื่อประเด็นเฉพาะต่างๆ ถูกเชื่อมกับนักการเมือง จะช่วย
ให้นักการเมืองมีข้อมูลที่แน่นในการอภิปรายในรัฐสภา ผมมองเห็นถึงความเข้มแข็งของภาคประชาสังคม
ในการจัดเก็บข้อมูลเพื่อส่งต่อ นักการเมืองก็ท่านไม่เหนื่อย โดยเฉพาะนักการเมืองที่เคยอยู่ในภาค
ประชาสังคม เช่น หมอเพ็ชรดาว โต๊ะมีนา กมลศักดิ์ ลีวาเมาะ อดิลัน อาลีอิสเฮาะ คือมีข้อมูลอยู่กับ
ตัวเองอยู่แล้ว ช่วยท�าคดีให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากกฎหมายพิเศษมา 15 ปี ถือว่ามีข้อมูลแน่นมาก”
(สัมภาษณ์ ซาฮารี เจ๊ะหลง, ผู้ก่อตั้งโครงการ Projek SAMA SAMA, 12 กรกฎาคม 2562)