Page 112 - kpiebook63030
P. 112
111
“เรื่อง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ก็ท�าเรื่องความมั่นคง เรื่องการพูดคุยของพรรคการเมือง
แต่ละพรรค ก้อยก็เคยเอาของธนาธรที่ไม่ให้เลือกตั้งทหาร แต่อีกฝั่งหนึ่งคืออะไร แต่สุดท้ายแล้ว
เหนือสิ่งอื่นใดในตัวสกู๊ปเรา จะไปสุ่มคุยกับชาวบ้านว่านโยบายแบบนี้มันมีผลต่อการตัดสินใจของคุณ
หรือเปล่า แต่ไม่ได้หมายถึงว่าเลือกหรือไม่เลือกคนนั้น อย่างนโยบายความมั่นคงมีผลต่อการตัดสินใจหรือไม่
เขาก็จะบอกว่า “ไม่ส�าคัญ เท่าเรื่องไม่มีอะไรจะกิน” เขาไม่เห็นนโยบายที่จะแก้ปัญหา 3 จังหวัดเลย”
(สัมภาษณ์ ติชิลา พุทธสาระพันธ, หัวหน้าศูนย์ข่าวภาคใต้ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส, วัน 17 กรกฎาคม
2562)
“ในการท�าข่าวการเมืองในรอบนี้ นักสื่อสารมวลชนได้เห็นถึงพลวัตความเปลี่ยนแปลงการท�า
ข่าวอย่างน่าสนใจ กล่าวคือ นักข่าวสตริงเกอร์เป็นกลไกหลักที่ท�าข่าวเลือกตั้ง สตริงเกอร์นักข่าวที่ถูก
ตั้งขึ้นในจังหวัดนั้นๆ จ่ายเป็นรายชิ้น ไม่ใช่พนักงาน แต่ก็เป็นคนของออฟฟิศ ข่าวส่วนใหญ่จากทุกที่
ก็จะถูกส่งมาจากสตริงเกอร์ สิ่งหนึ่งที่ก้อยเห็นได้ชัดในการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ก้อยว่าสตริงเกอร์เริ่มท�า
ข่าวในเชิงนโยบายของพรรคการเมืองมากขึ้น เมื่อก่อนสตริงเกอร์ที่เป็นนักข่าวท้องถิ่นก็จะลงไปหาเสียง
เคาะประตูบ้าน ไปดูวัด แต่สิ่งที่เราเห็นพัฒนาการของนักข่าวในตอนนี้ที่เป็นนักข่าวท้องถิ่น เขาเริ่ม
มองนโยบายของพรรคการเมืองนั้นๆ เช่น สมัยก่อนที่จังหวัดตรัง เมื่อคุณชวนไปหาเสียง นั่งร้านกาแฟ
ก็จะเป็นข่าวแล้ว สตริงเกอร์โดยทั่วไปจะตามเกี่ยวกับการหาเสียง การไปเยี่ยมคนแก่ ช่วงหาเสียงได้
ทุกอย่าง การตระเวนในตลาด แต่สิ่งที่เราเห็นชัดคือ เขาเริ่มไม่ถามคุณชวน เมื่อคุณชวนไปตลาด
เขาก็เริ่มที่จะถามแม่ค้ามากกว่าถามคุณชวน ว่าอยากให้คุณชวนและพรรคประชาธิปัตย์ท�าอะไร
ซึ่งก้อยว่ามันเป็นเรื่องที่ดี คือแหล่งแรกในการถ่ายทอดข้อมูลมันมาจากความเข้าใจ พรรคการเมืองจะต้อง
มีอะไรบางอย่างให้กับชาวบ้าน ไม่ใช่แค่หาเสียงไปวันๆ มันท�าให้เห็นว่า ประชาชนก็เริ่มคิด เช่นวันก่อน
ที่ลุงก�านันไปกระบี่แล้วโดนด่าในตลาด นักการเมืองเขาตามแล้วส่งมา หลังจากที่ลุงก�านันไปแล้ว
เขาก็ไปสอบถามพี่คนนั้นว่าด่าลุงก�านันท�าไม เขาก็บอกว่าเป็นเพราะขายของไม่ได้
ก้อยรู้สึกว่ามันเป็นพลวัตของคนท�าข่าวในฐานะคนสายข่าว ว่าไม่ได้มองการเมืองแค่เพียงว่า
เป็นนักการเมืองหลังการหาเสียงแล้วก็จบไป เริ่มมองว่านักการเมืองจะให้อะไรกลับไปในจังหวัดของเขา
คนที่อยู่ในพื้นที่ของเขา ก้อยว่ามันเป็นความรับผิดชอบของคนในวิชาชีพสื่อในพื้นที่มากขึ้น” (สัมภาษณ์
ติชิลา พุทธสาระพันธ, หัวหน้าศูนย์ข่าวภาคใต้ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส, วัน 17 กรกฎาคม 2562)
สำาหรับสื่อวิทยุในพื้นที่ต่างจังหวัดย่อมยังมีความสำาคัญอยู่ในปัจจุบัน แม้ว่าจะสื่อออนไลน์
เข้ามาก็ตาม สถานีวิทยุ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เป็นสื่อวิทยุที่มีคนติดตามและให้
ความสำาคัญเพราะเป็นสื่อของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ การเกาะติดตามเลือกตั้งก็ย่อมมีความสำาคัญ
อย่างยิ่ง บทบาทของสื่อในการเลือกตั้งครั้งนี้ ก็ย่อมแบกรับความคาดหวังของคนฟังวิทยุเช่นกัน
“การท�าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ในช่วงก่อนการเลือกตั้ง และมีการรายงานสดบรรยากาศในช่วง
ของการเลือกตั้ง ทั้งเลือกตั้งล่วงหน้าและวันเลือกตั้งจริง เลือกตั้งล่วงหน้าตัวเองมาใช้สิทธิที่องค์การ