Page 109 - kpiebook63030
P. 109

108    การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมือง และพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562
                  จังหวัดปัตตานี






                      ซึ่งในส่วนของกิจกรรมคือ มีการจัดเวที แต่ก่อนหน้านั้นคือจะมีการปล่อยคลิปวีดีโอ 2 คลิป

             ซึ่งจะเป็นการพูดถึงกระบวนการที่สร้างสรรค์ในการเลือกตั้งครั้งนี้ การเสนอวิธีในการเล่นการเมือง
             ประมาณ 5-6 คลิป หรือเรียกว่า การเมืองสร้างสรรค์” (สัมภาษณ์ ปรัชญา โต๊ะอีแต, ผู้จัดการสำานักงาน

             และบรรณาธิการสื่อ The PEN, 9 กรกฎาคม 2562)


                      การผลักดันให้การเมืองเป็นสิ่งสร้างสรรค์ในพื้นที่ความรุนแรงคงไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะมันคือ
             การเปลี่ยนบทสนทนาของการเมืองให้พ้นจากวงจรเดิมๆ


                      “บทสนทนาหลัก ในเริ่มแรกก็จะมีการพูดคุยเกี่ยวกับบริบทของพื้นที่ นักการเมืองจะปฏิบัติ
             หน้าที่อย่างไร หาผลประโยชน์ให้กับพื้นที่อย่างไร ในส่วนของการเสนอแก่นักการเมืองหรือผู้สมัคร

             สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรว่าต้องท�าหน้าที่เป็นตัวแทนอย่างไร ซึ่งโจทย์นี้บางคนในระดับอบจ.มีการลง

             พื้นที่ส�ารวจและท�าวิจัย ว่าช่วงก่อนการเลือกตั้งเป็นอย่างไร เช่น ในเครือข่ายของแบดิง (นัจมุดดีน อูมา)
             ที่จะลงนายกท้องถิ่นรอบนี้ ได้มีจัดตั้งทีมในการส�ารวจกันตั้งแต่ปีที่แล้ว โดยให้นักศึกษาไปท�าวิจัย
             ซึ่งไม่ได้ระบุว่าเป็นกลุ่มการเมือง โดยประเด็นหลักๆ คือ อยากจะเห็นนักการเมืองแบบไหน มีบุคลิกภาพ

             หรือท่าทีแบบใด และประเด็นปัญหาต่างๆ ต้องการให้มีการแก้ไขปัญหาอย่างไร ในฐานะนักวิจัยก็มี

             การลงพื้นที่เก็บข้อมูลจากชาวบ้าน แล้วน�าข้อมูลดังกล่าวมาออกแบบยุทธศาสตร์การเดินเกมเลือกตั้ง
             ซึ่งจะเป็นโจทย์ที่ใกล้เคียงกับที่ CSO มีการถามว่าต้องการนักการเมืองในพื้นที่แบบไหน โดยทาง
             CSO มีความเชื่อที่ว่าพรรคการเมืองจะต้องเข้ามาหา หรือง้อ CSO ซึ่งหากมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

             จะเรียกร้องได้ยาก จึงมีการเสนอในเรื่องของทัศนคติ พฤติกรรมของตัวผู้สมัครแทนซึ่งจับต้องได้

             ในลักษณะที่ว่าหากต้องการคะแนนเสียง ต้องการที่จะท�างานกับ CSO ก็จะต้องมีการปรับตัวของตนเองด้วย
             จากนั้นจึงค่อยมาพูดคุยกันในเรื่องของนโยบายต่างๆ ในรอบถัดไป โดยการพูดคุยต่างๆ ก็จะมีหลายชั้น
             ทั้งการพูดคุยที่เป็นเวทีเปิดชั้นหนึ่ง และมีการพูดคุยเพื่อเลือกหัวคะแนนอีกชั้นหนึ่ง


                      เช่น เวที Patani Forum ที่จัดในครั้งก่อน โดยมีผู้สมัครมาร่วม ซึ่งมีพรรคประชาชาติร่วมด้วย

             จัดขึ้นที่สงขลา มีการพูดถึงการเมืองว่าการเลือกตั้งครั้งนี้มีการคาดหวังอะไรบ้าง เมื่อการพูดคุยบนเวที
             เสร็จสิ้น ก็จะพบว่า พฤติกรรมของพรรคการเมืองจะมีการเล็งหรือมองหาบุคคล อย่างคนพุทธก็จะนัด

             มาพูดคุยกัน และมีคุณปาตีเมาะห์ ก็จะนัดมาพูดคุยกัน บางคนก็จะเป็นการทาบทามในพรรค ในส่วน
             ของ CSO ก็รู้สึกว่า พรรคการเมืองมีการให้ความส�าคัญหรือให้ราคากับตัวเอง เพราะทั้งชีวิตไม่เคยมี

             นักการเมืองชวนพูดคุยกันในลักษณะดังกล่าว อีกทั้งยังเป็นการเรียกร้องที่ถูกกลไก ซึ่งแตกต่างจากเดิมที่
             เป็นการเรียกร้องกลางอากาศ จะเรียกร้องกับทางทหารก็รู้สึกไม่สบายใจมากนัก ดังนั้นการเรียกร้องครั้งนี้

             อย่างน้อยๆ พรรคการเมืองเหล่านี้ก็สามารถที่จะผลักดันข้อเสนอต่างๆ ในกลุ่มของตนเองได้ ดังนั้น
             จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ CSO จะตื่นตัวในเรื่องของการเข้าไปพูดคุยกับทางนักการเมืองในครั้งนี้” (สัมภาษณ์

             ปรัชญา โต๊ะอีแต, ผู้จัดการสำานักงานและบรรณาธิการสื่อ The PEN, 9 กรกฎาคม 2562)
   104   105   106   107   108   109   110   111   112   113   114