Page 104 - kpiebook63030
P. 104
103
เป็น Monitor ก็เป็นสักขีพยานด้วย เป็นผู้ที่เฝ้ามองว่าคุณท�าตามกติกาหรือไม่ คุณมีอะไรที่นอกเหนือ
จากกติกาที่ก�าหนดหรือไม่ ซึ่งประเด็นที่เน้นก็คือ ความเป็นพื้นที่พิเศษที่ไม่เหมือนกับที่อื่น เช่น ช่วงเวลา
ในการหาเสียงใน 3 จังหวัด จะมีการเกณฑ์มาละหมาดฮายัต (สวดขอพร) หัวคะแนนที่เป็นอิหม่าม
และผู้น�าศาสนาก็จะเกณฑ์คนมาละหมาดฮายัต มีการใส่เงินในซอง เขาเรียกมันว่าค่าน�้ามัน ซึ่งเป็นลักษณะ
ของสิ่งที่ไม่มีในพื้นที่อื่น อาจจะตีความว่าเป็นการซื้อเสียงอย่างไรนั้นก็ว่าไป แต่ก็พบว่ามีรูปแบบเช่นนี้อยู่
มีการระดมวัยรุ่นมาท�าซุปซาตี (ซุปเป็ด) ซึ่งวัยรุ่นก็มา ค�าถามว่าคนที่ใช้จ่ายเงินส่วนนี้คือใคร
ก็คือหัวคะแนน แล้วแต่หัวคะแนนแต่ละพื้นที่ เป็นรูปแบบเดียวกัน เมื่อเราเล่น Project ว่าวันนี้มีการท�า
ซุปซาตีที่ไหนบ้าง ที่อื่นก็จะตอบรับ ว่าจุดไหนมีบ้าง ท�าให้ทางเราเห็นเม็ดเงินที่ไปซื้อซาตี ไปเช็คชื่อฟาร์ม
ที่เลี้ยงเป็ด เช่น ที่บ้านกูแบอีเตะ เป็ดจะขายดีมาก ขาดตลาด เพราะมีการท�าซุปเป็ดเกือบทุกคืนทุกที่”
(สัมภาษณ์ ซาฮารี เจ๊ะหลง, ผู้ก่อตั้งโครงการ Projek SAMA SAMA, 12 กรกฎาคม 2562)
การรับรู้ทางวัฒนธรรมของชาวบ้านในพื้นที่ โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
นับว่าเป็นเรื่องที่มีความสำาคัญอย่างยิ่งต่อการ “อ่าน” สถานการณ์ทางการเมืองและรับรู้ความคิดของผู้คน
สัญลักษณ์ทางการเมือง กิจกรรมต่างๆ ไม่ได้เผยให้เราเห็นได้อย่างตรงไปตรงมา แต่มันต้องอาศัย
การตีความสัญลักษณ์หรือกิจกรรมนั้นๆ ในความหมายนี้อาจจะกล่าวได้ว่าวัฒนธรรมทางการเมืองท้องถิ่น
ในแต่ละพื้นที่ย่อมมีความแตกต่างกันอย่างยิ่ง จะอาศัยชุดความคิดและคำาอธิบายแบบใดแบบหนึ่งตายตัว
ในความเข้าใจมิได้
“เหตุผลที่เป็นเป็ด เพราะเมื่อมีอะไรเกิดขึ้นที่จะต้องเฉลิมฉลองกัน ซุปเป็ดถือเป็นเมนูที่ฮิตที่สุด
นอกเหนือจากแกงแพะ ซึ่งแกงแพะจะเกี่ยวข้องกับเรื่องใหญ่ๆ ที่มีคนเหนียต (เจตนา) ไว้ เช่น การสอบผ่าน
การเรียนจบ ก็จะเกี่ยวข้องกับการนาซัร (การบนบาน) การท�าซุปเป็ดถือเป็นกิจกรรมพิเศษ ซึ่งไม่รู้ว่าที่อื่น
มีหรือเปล่า แต่ที่นี่จะเป็นจุดเด่น คล้ายว่าเป็นวัฒนธรรมใหม่ แต่อันที่จริงก็มีมานานแล้ว แต่เมื่อเราจับ
งานด้าน Monitor ก็จะท�าให้เห็นภาพที่มีความชัดเจนขึ้น แล้วเราก็น�าสิ่งนี้ จากการที่เรามีการเก็บข้อมูล
ในพื้นที่ต่างๆ มาท�าเป็นกราฟฟิกและแผนที่แล้วมาร์คจุดส�าหรับพื้นที่ที่มีการท�าซุปเป็ด ซึ่งจะมีเกือบทุกที่
จะท�าให้เราเห็นภาพว่า การหาเสียงของหัวคะแนนมีการใช้เม็ดเงินไปกับกิจกรรมเช่น การท�าซุปเป็ด
การเตะบอลสนามหญ้า ซึ่งในส่วนนี้จะเป็นการจ่ายที่ท�าให้ไม่เห็นภาพว่าผู้สมัครเป็นคนจ่าย คือ หัวคะแนน
มาจ่าย ในส่วนของวัยรุ่นก็จะชอบมาเล่นบอล เตะบอล เมื่อเตะเสร็จก็ไม่ต้องจ่ายเงิน มีคนจ่ายให้แล้ว
จากนั้นตัวแทนของพรรคก็จะมาพูด ก็ท�าให้รู้ว่าพรรคนี้จ่ายให้ ตัวอย่างเช่น การจัดที่ปูยุด เมื่อแกนน�า
เยาวชนเตะบอลเสร็จ ก็จะมีคนบอกว่า ครั้งนี้ไม่ต้องจ่าย เพราะมีคนจ่ายให้แล้ว จากนั้นก็มีคนมาพูด
สมมุติเป็นผู้สมัครคนหนึ่ง ผู้สมัครคนนั้นก็มาพูดปิดท้าย ขอบคุณทุกๆ คนที่มาร่วมและอย่าลืมนะ มันก็
เป็นการหาเสียงรูปแบบหนึ่งที่มีความแนบเนียน ผ่านการเตะบอล มีการระดมวัยรุ่นออกมากันเยอะมาก
เนื่องจากฟรีและมีการเลี้ยงน�้า ซึ่งเงินจะไม่ให้โดยตรง แต่เงินจะผ่านในรูปแบบการจ่ายค่าสนาม ของกิน
เล็กๆ น้อยๆ และแกนน�าที่พาคนออกมาก็จะถูกเรียกตัวต่างหาก เพื่อพูดคุย ในลักษณะที่เป็นหัวคะแนนให้
ต่อเนื่องไปเลย” (สัมภาษณ์ ซาฮารี เจ๊ะหลง, ผู้ก่อตั้งโครงการ Projek SAMA SAMA, 12 กรกฎาคม 2562)