Page 105 - kpiebook63030
P. 105

104    การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมือง และพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562
                  จังหวัดปัตตานี






                      สำาหรับในพื้นที่ปัตตานี โดยส่วนใหญ่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จะใช้ภาษามลายู

             ท้องถิ่นเป็นภาษาในการสื่อสารเป็นหลักมากกว่าภาษาไทย นัยยะสำาคัญคือการเข้าถึงชาวบ้านในพื้นที่
             สิ่งที่น่าสนใจอีกประการก็คือระบบหัวคะแนนในการเลือกตั้งครั้งนี้ได้มีการทำางานอย่างเป็นระบบและ

             มีความแม่นยำ้ามากขึ้น


                      “ในภาษามลายู ในการหาเสียงจะไม่ใช้ค�าว่าหัวคะแนน แต่ใช้ว่า คนนี้คนของประชาธิปัตย์
             คนนี้คนของประชาชาติ ส�าหรับการเลือกตั้งครั้งล่าสุดนี้ หัวคะแนนจะท�างานเป็นระบบมาก คล้ายว่ามีการ

             research งานวิจัยถึงข้อมูลจากกกต. มี list ตาราง สมมุติ เขตต�าบลดอนรัก มีผู้ใช้สิทธิทั้งหมด 4,000 คน
             หมู่บ้านนี้ 400 คน หมู่บ้านนี้ 600 หมู่บ้านนี้ 1,000 เป็นต้น โดยวางเป้าว่าหมู่บ้านนี้ขอ 200 คน หมู่บ้าน

             นี้ขอ 150 คน เป็นต้น ซึ่งจะมีการล็อกเป้าเรียบร้อย เขียนเป็นฟอนต์สีแดงเลย หมายถึงเป้าที่อยากได้
             และคิดว่าชนะแน่นอน ก็จะแจก Poll list นี้ให้กับหัวคะแนนเพื่อที่จะท�าการเช็ครายชื่อตามเขตการเลือกตั้ง

             ของตนเองอีกทีหนึ่ง และรายชื่อนี้เป็นที่มาของเงินที่จะลงมาในคืนสุดท้าย คือคืนมาหอน และนี่คือ
             พฤติกรรมของการหาเสียงที่ผ่านมา” (สัมภาษณ์ ซาฮารี เจ๊ะหลง, ผู้ก่อตั้งโครงการ Projek SAMA SAMA,

             12 กรกฎาคม 2562)


                      การทำางานของกลุ่มภาคประชาสังคมน่าสนใจอย่างยิ่งก็คือ การได้ลงพื้นที่และตั้งข้อสังเกต
             อย่างน่าสนใจเกี่ยวกับพฤติกรรมการเลือกตั้งที่ผ่านมาของประชาชนในพื้นที่


                      “เมื่อเลือกตั้งและ Monitor เสร็จเรียบร้อย ได้ข้อสรุปว่า 6 ที่นั่งของพรรคประชาชาติ ซึ่งเรา
             Monitor ทั้งหมด 13 เขต รวม 2 เขตของสงขลาด้วย คือเขต 7 และเขต  8 จากสถิติเก่าพบว่าประชาธิปัตย์

             ได้ทั้งหมด 11 ที่นั่ง แต่รอบนี้ได้แค่ 2 ที่นั่ง ปัตตานี 1 และสงขลา 1 มันท�าให้เห็นภาพวาด กระแส
             Nationalism ชาตินิยมมุสลิมยังขายในพื้นที่นี้ได้อยู่ ความเป็นรูปธรรมคือ พรรคประชาชาติได้ 6 ที่นั่ง

             นี่เป็นผลชัดเจนว่ากระแสชาตินิยมมลายูยังมีในพื้นที่ ยังไม่หมดไป และการเมืองตัวแทนในสามจังหวัดไม่มี
             ใครมาผูกขาดได้  เพราะปี 2554 พรรคประชาธิปัตย์ได้ทั้งหมด 11 จาก 13 ที่นั่ง แต่รอบนี้ได้แค่ 2 และ

             ในสามจังหวัดพบว่าชนะเพียงแค่เขตเดียว คือเขต 1 ปัตตานี ท�าให้เห็นว่าไม่มีใครผูกขาดได้” (สัมภาษณ์
             ซาฮารี เจ๊ะหลง, ผู้ก่อตั้งโครงการ Projek SAMA SAMA, 12 กรกฎาคม 2562)
   100   101   102   103   104   105   106   107   108   109   110