Page 103 - kpiebook63030
P. 103
102 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมือง และพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562
จังหวัดปัตตานี
ในส่วนของจังหวัดปัตตานี การคัดแยกบัตรเลือกตั้งจากต่างประเทศหรือนอกราชอาณาจักร
ก็มีปัญหาบางส่วนแต่ไม่ส่งผลต่อคะแนนการเลือกตั้ง เช่น การเขียนหน้าซองผิด ระบุเขตผิดพลาด
จากการสัมภาษณ์ของ กกต. จังหวัดปัตตานี “ซึ่งทางปัตตานีก็พบว่ามีบัตรที่ส่งพลาดประมาณ 10 ใบ เพราะ
คนท�างานก็มีผิดพลาดบ้าง เช่น การเขียนหน้าซองว่าปัตตานีเขต 2 แต่รหัสเป็นเขต 3” (สัมภาษณ์ ร.ต.อ สมนึก
กุลมณี, ผู้อำานวยการสำานักงานคณะกรรมการเลือกตั้งประจำาจังหวัดปัตตานี, วันที่ 2 กรกฎาคม 2562)
บทบาทหน้าที่ของ กกต. สำาหรับการเลือกตั้งที่ผ่านมา เป็นสิ่งประชาชนได้ให้ความสนใจอย่างยิ่ง
ในระดับทั้งประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มภาคประชาสังคม พรรคการเมืองต่างๆ การเรียกร้องให้ กกต. ดำาเนินการ
จัดการเลือกตั้งที่เป็นกลาง เกิดจากที่มาของ กกต. ทั้ง 7 คน ทำาให้ส่งผลต่อ กกต. ประจำาจังหวัดไปในตัวด้วย
เช่น การไม่เปิดเผยผลคะแนนรายหน่วยให้แก่สาธารณะรับทราบ เช่น ในช่องทางออนไลน์ เพื่อเผยแพร่
ในวงกว้าง
สำาหรับจังหวัดปัตตานี การทำางานของ กกต. ครั้งนี้ถือว่าลุล่วงไปได้ดี โดยเฉพาะการพิจารณา
เหตุการณ์ความรุนแรงไม่ได้เกิดขึ้นในหน่วยการเลือกตั้งทุกหน่วย
5.2 บทบำทของกลุ่มภำคประชำสังคม
กลุ่มภาคประชาสังคมมีความสำาคัญอย่างยิ่งในสังคมการเมืองที่มีพื้นฐานยึดโยงกับระบอบ
ประชาธิปไตย สำาหรับการเลือกตั้งครั้งนี้ก็เช่นกัน กลุ่มภาคประชาสังคมที่โดดเด่นและติดตามการเลือกตั้ง
คือ กลุ่ม “Projek SAMA SAMA” ที่ประกาศตัวเพื่อติดตามการเลือกตั้งในพื้นที่สามจังหวัดชายแดน
ภาคใต้และอีกสี่อำาเภอในจังหวัดสงขลา Projek SAMA SAMA คือการรวมตัวนักกิจกรรมทางการเมือง
ชายแดนใต้/ปาตานี เฝ้าสังเกตการณ์การเลือกตั้ง เพื่อผลักดันการเมืองที่มีคุณธรรม เป็นประชาธิปไตย
โดยสังเกตการณ์การเลือกทั่วไปใน 13 เขตเลือกตั้ง ในพื้นที่ชายแดนใต้/ปาตานี ในวันที่ 24 ก.พ. 62
บนฐานคิดของความเท่าเทียม โปร่งใสและตรวจสอบได้ บนฐานความคิด “ร่วมเป็นสักขีพยานการเลือกตั้ง
เพื่อการเมืองที่ดีและมีศักดิ์ศรี”
สำาหรับการเคลื่อนไหวติดตามการเลือกตั้งที่ผ่านมา ทางกลุ่ม Projek SAMA SAMA ได้มีจัดทำาเพจ
เพื่อสื่อสารข่าวสารของการเลือกตั้งครั้งนี้ โดยเฉพาะข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ โดยที่มาที่ไป
ของการจับตาเลือกตั้งครั้งนี้ของกลุ่มภาคประชาสังคมในพื้นที่เป็นที่น่าสนใจยิ่ง
“ส�าหรับการคิดชื่อของ Projek Sama Sama นั้น มาจากการคิดถึงเรื่องของศักดิ์ศรีของประชาชน
ในสามจังหวัดว่ามีศักดิ์ศรีเทียบเท่ากับคนไทยภูมิภาคอื่นๆ มีสิทธิ์มีเสียง 1 เสียงเท่ากัน จึงเป็นที่มาของชื่อ
Projek Sama Sama ซึ่ง Sama Sama หมายถึง คนเท่าเทียมกัน ใช้ wording ของค�าว่า ศักดิ์ศรี และ
ค�าภาษามลายูก็ใช้ค�าว่า Saksee หมายถึง การเป็นสักขีพยาน เป็นการเล่นค�าต่างๆ เหล่านี้ ในฐานะที่