Page 138 - kpiebook63012
P. 138

138   การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมือง และพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดพะเยา







             5.2 กำรอธิปรำยผล



                      จากสรุปผลการวิจัยข้างต้น สามารถอธิปรายผลการวิจัยตามกรอบแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องดังนี้




                     1.) รัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย พ.ศ.  2560 ต่อรูปแบบวิธีกำร
             สื่อสำรทำงกำรเมืองในกำรรณรงค์หำเสียงเลือกตั้งของผู้ลงสมัคร


                      รัฐธรรมนูญแห่งราชาอาณาจักไทย พ.ศ. 2560 ได้ส่งผลต่อการตรากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง

             ตามเจตนารมณ์ที่ต้องการให้การเลือกตั้งครั้งนี้มีความบริสุทธิ์ยุติธรรม ภายใต้กลไกของกฎหมายและคณะกรรมการ
             การเลือกตั้ง ประกอบกับบริบททางการเมืองระดับชาติและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง ได้ทำาให้การสื่อสารทาง

             การเมืองของผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งฯ ในจังหวัดพะเยาครั้งนี้เปลี่ยนแปลงไปจากการเลือกตั้งทุกครั้ง โดยเฉพาะ
             การใช้ช่องทางสื่อสารออนไลน์เข้ามารณรงค์การหาเสียงเพิ่มมากขึ้น และทำาให้ประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง

             บางกลุ่มตื่นตัวและมีปฏิสัมพันธ์กับการเลือกตั้งครั้งนี้


                      อย่างไรก็ตาม ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สมัครรับเลือกตั้งกับผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งที่มีลักษณะไม่เปิดเผย เช่น
             กลวิธีการทำาลายคู่แข่งจากการพิมพ์ใบปลิวโจมตี การข่มขู่ให้คู่แข่งรู้สึกกลัว รวมถึงการใช้เงินซื้อผ่านระบบ

             หัวคะแนน ทำาให้เห็นว่าวิธีการที่เกิดขึ้นไม่แตกต่างจากการเลือกตั้งหลายครั้งที่ผ่านมาของประเทศไทย เช่น
             ศึกษาของ James Ockey (2003 อ้างถึงใน อภิชาต สถิตนิรามัย, 2556) ที่พบว่าการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญฯ

             พ.ศ. 2540 ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสถาบันทางการเมือง พรรคการเมือง พฤติกรรมของการรวมกลุ่ม
             ในพรรคการเมือง การเลือกตั้ง การซื้อเสียง โดยพบว่าการซื้อเสียงยังคงเกิดขึ้น รวมถึงการรวมกลุ่มมุ้งต่าง ๆ

             เพื่อจัดตั้งรัฐบาล ยังคงมีระบบอุปถัมภ์ระหว่างนักการเมืองที่มีอิทธิพลและอ่อนอาวุโส


                      ทั้งนี้ ความสัมพันธ์ระบบหัวคะแนนในการเลือกตั้งฯ จังหวัดพะเยา มีความสอดคล้องกับงานของ
             เพิ่มพงษ์ และ ศรีสมภพ (อ้างถึงใน สุรชัย ตั้งมกรา, 2556) ที่กล่าวว่ากลุ่มหัวคะแนนที่เป็นเครือญาติจะมี

             ความซื่อสัตย์ต่อผู้สมัครมากที่สุด และกลไกหัวคะแนนที่สำาคัญของการเลือกตั้งฯ จังหวัดพะเยา ยังคงจำาแนก
             ตามสาขาอาชีพอย่างกลุ่มผู้นำาท้องที่และท้องถิ่น ซึ่งได้พยายามประสานผลประโยชน์ของผู้สมัครฯ กับพื้นที่ของ

             ตน หรือพึ่งพาอาศัยกันทั้งทางด้านฐานคะแนนเสียง ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ส่วนโครงสร้างของหัวคะแนนนั้น
             ยังคงเป็นไปตามลำาดับชั้นกล่าวคือ หัวคะแนนระดับจังหวัด (มีความใกล้ชิดกับผู้ลงสมัครฯ หรือผู้ประสานงาน

             พรรคการเมือง) หัวคะแนนระดับอำาเภอ (ในเขตเลือกตั้ง) และ หัวคะแนนระดับตำาบล (ในชุมชน)


                      ในด้านสาเหตุในการซื้อเสียง ยังสามารถนำาลักษณะพฤติกรรมเบี่ยงเบนในการหาเสียงเลือกตั้งในช่วง
             ระยะเวลาก่อนปี 2536 จากการศึกษาของสมบัติ จันทรวงศ์ (2536 อ้างถึงใน ณสดมภ์ ธิติปรีชา, 2554) โดย

             เฉพาะสาเหตุ 7 ประการที่ได้ระบุไว้ ยังคงเป็นสาเหตุสำาคัญของการทำาให้การเลือกตั้งฯ จังหวัดพะเยา ที่มีลักษณะ
             การซื้อเสียงเกิดขึ้น กล่าวคือ สาเหตุความเหลื่อมลำ้าทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม โดยเฉพาะช่วงหลัง
   133   134   135   136   137   138   139   140   141   142   143