Page 137 - kpiebook63012
P. 137

137








                          5) รูปแบบ วิธีกำร และผลกระทบกำรเลือกตั้งสมำชิกสภำผู้แทนรำษฎร
                  จังหวัดพะเยำ ของหน่วยงำนภำครัฐ องค์กรสำธำรณะ และองค์กรอื่น ๆ
                  ภำยใต้รัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย พุทธศักรำช 2560



                          องค์กรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเลือกตั้งครั้งนี้ ภายใต้กฎหมายเลือกตั้งใหม่จำาเป็นต้อง
                  ทำาความเข้าใจกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนไปมากขึ้น และการมีหน้าที่ประชาสัมพันธ์และการจัดการให้ความรู้กับผู้

                  มีสิทธิ์เลือกตั้ง รวมถึงการจัดการเลือกตั้งอย่างบริสุทธิ์และยุติธรรม ซึ่งผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งและภาคประชาชนต่าง
                  ติดตามการทำางานดังกล่าวอย่างใกล้ชิด


                          ดังนั้นหากคณะกรรมการการเลือกตั้งฯ สามารถเป็นตัวแทนหรือเป็นองค์กรในการจัดการเลือกตั้ง

                  ภายใต้สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป จะทำาให้การเลือกตั้งดำาเนินไปอย่างเสรีและเป็นธรรม และเป็นที่ยอมรับ
                  ของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งแม้ว่าสถานการณ์ทางการเมืองในการเลือกตั้งจะมีการแข่งขันที่รุนแรง โดยการดำาเนินงาน

                  ของคณะกรรมการการเลือกตั้งจะทำาให้เกิดการแข่งขันเข้าสู่ ตำาแหน่งทางการเมืองเกิดขึ้นในบรรยากาศแข่งขัน
                  อย่างเสรี (liberalization) ตามแนวความคิดของ Robert A. Dahl ได้ และการเลือกตั้งจะเป็นที่ยอมรับของ

                  ประชาชนแม้มีการเปลี่ยนรัฐบาล เช่นการเลือกตั้งในประเทศสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรซึ่งเป็นประเทศ
                  ต้นแบบประชาธิปไตยในระบอบประธานาธิบดีและรัฐสภา รวมถึงกรณีสหพันธรัฐสาธารณรัฐเยอรมนี ซึ่งเป็น

                  ต้นแบบของการเลือกตั้งในระบบผสมในครั้งนี้ด้วย







                          6) ผลกำรเลือกตั้ง


                          การเลือกตั้งของจังหวัดพะเยาได้มี “การเปลี่ยนแปลง” จากในอดีตที่มีสองพรรคใหญ่แข่งขันกัน คือ

                  พรรคไทยรักไทย หรือพรรคพลังประชาชน หรือพรรคเพื่อไทย กับพรรคประชาธิปัตย์ เปลี่ยนเป็นพรรคเพื่อไทย
                  และพรรคการเมืองใหม่อย่างพรรคพลังประชารัฐ และพรรคอนาคตใหม่ การแข่งขันเชิงนโยบายและตัวบุคคล และ

                  วิธีสื่อสารทางการเมืองของผู้สมัครฯ ต่างก็มีผลต่อการตัดสินลงคะแนนในการเลือกตั้งของประชาชน จนนำามาสู่
                  ผลการเปลี่ยนแปลงการเลือกตั้งฯ ที่เปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือ พรรคเพื่อไทยเหลือเพียงเขตเลือกตั้งที่ 2 ที่ยัง

                  สามารถได้รับคะแนนการเลือกตั้งเป็นอันดับที่ 1 แต่ก็พบว่าผู้สมัครคนเดิมได้รับคะแนนเสียงลดลง สำาหรับ
                  เขตเลือกตั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง คือ เขตเลือกตั้งที่ 1 และ 3 โดยพรรคพลังประชารัฐสามารถได้รับคะแนนเสียง

                  เลือกตั้งเป็นอันดับ 1 ทั้งนี้ คณะผู้วิจัยพบว่าการย้ายพรรคของผู้สมัครรับเลือกตั้งฯ มีผลต่อการเปลี่ยนแปลง
                  ดังกล่าว
   132   133   134   135   136   137   138   139   140   141   142