Page 133 - kpiebook63012
P. 133
133
5.1 สรุปผลกำรวิจัย
“การเปลี่ยนแปลง ความตื่นตัว การแข่งขันที่รุนแรง และจบท้ายด้วยการเปลี่ยนแปลง” น่าจะ
เป็นบทนิยามถึงรูปแบบและวิธีการการเลือกตั้ง และผลกระทบการเลือกตั้ง ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่
กรณีศึกษา จังหวัดพะเยา ซึ่งสามารถสรุปตามวัตถุประสงค์การวิจัยได้ดังนี้
1) บริบท และสถำนกำรณ์ทำงกำรเมืองของจังหวัดพะเยำ
ช่วงก่อนและระหว่ำงกำรเลือกตั้ง
ก่อนการประกาศพระกฤษฎีการให้มีการเลือกตั้งฯ จังหวัดพะเยา ได้เกิดการเปลี่ยนแปลง
อันเนื่องมาจากการเกิดพรรคการเมืองใหม่และการเปลี่ยนแปลงขั้วการเมือง โดยมีผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งใหม่
ที่เคยเป็นฐานเสียงสำาคัญของพรรคการเมืองเดิม โดยเริ่มจากชูธงนโยบายการ “เปลี่ยน” จังหวัดพะเยา ทำาให้
พรรคการเมืองเดิมมีความตื่นตัวกับสถานการณ์ดังกล่าวในการรักษาฐานคะแนนเสียงของตน
นอกจากนี้ การเปลี่ยนระบบการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย พ.ศ. 2560
เป็นรูปแบบผสมเขตกับสัดส่วนแบบจัดสรรปันส่วนผ่านบัตรเลือกตั้งใบเดียวนั้น ทำาให้ประชาชนต้องรวม
การตัดสินใจของตนในการใช้สิทธิ์เลือกตั้งว่าจะเลือกจากปัจจัยอะไร กล่าวคือ การพิจารณาผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง
ต้องเลือกระหว่างพรรคการเมืองที่ตนชื่นชอบ นโยบายของพรรค หรือผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง แม้กระทั่ง
บุคคลที่พรรคเสนอให้เป็นนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 88 โดยผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งฯ บางกลุ่มมองว่า
ระบบเลือกตั้งดังกล่าว สะดวก และง่ายต่อการตัดสินใจ โดยเฉพาะประชากรกลุ่มวันอายุ 18 – 22 ปี
ที่ยังไม่มีประสบการณ์การเลือกตั้งในระบบแบบคู่ขนานระหว่างเขตและสัดส่วน ตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.
2540 และ 2550 เช่นเดียวกับผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งตั้งแต่อายุ 37 – 60 ปีขึ้นไป ที่มีประสบการณ์จากการเลือกตั้ง
ทั้งสองรูปแบบ โดยเห็นว่าการเลือกตั้งระบบดังกล่าวง่ายและไม่สับสน