Page 135 - kpiebook63012
P. 135

135








                          3) รูปแบบ วิธีกำร และผลกระทบกำรเลือกตั้งสมำชิกสภำผู้แทน
                  รำษฎรจังหวัดพะเยำ ของประชำชน ภำคประชำสังคม และกลุ่มทำงกำรเมือง
                  ภำยใต้รัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย พุทธศักรำช 2560



                          ประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งฯ ในจังหวัดพะเยามีทั้งสิ้น 391,849 คน โดยคณะผู้วิจัยพบว่า
                  ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งฯ ทั้ง 3 เขตเลือกตั้ง มีรูปแบบและวิธีการที่ไม่แตกต่างกัน เช่น ต่างมีความรู้สึกว่าการเลือกตั้งฯ

                  จังหวัดพะเยาครั้งนี้มีความคึกคัก และมีการแข่งขันที่รุนแรงโดยเฉพาะช่วงใกล้วันเลือกตั้งฯ และในแต่ละเขต
                  ต่างมีรูปแบบและวิธีการในรับข่าวสารการเลือกตั้งที่คล้ายคลึงกัน


                          แต่อย่างไรก็ตาม คณะวิจัยพบว่า คุณสมบัติทางอายุซึ่งมีประสบการณ์ทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง

                  ที่แตกต่างกัน มีผลต่อรูปแบบและวิธีการดังกล่าว ทั้งนี้ สามารถแบ่งกลุ่มอายุผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งของจังหวัดพะเยา
                  ตามโครงสร้างประชากร ได้ดังนี้ 1) กลุ่มอายุ 18 – 22 ปี จำานวนประมาณร้อยละ 7.17  2) อายุระหว่าง 27-35 ปี

                  จำานวนประมาณร้อยละ 16.48  3) ประชากรกลุ่มอายุ 37 - 59 ปี จำานวนประมาณร้อยละ 34.44 และ
                  4) ประชากรกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้น จำานวนประมาณร้อยละ 22.55


                          ในด้านรูปแบบที่ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งเข้าถึงข้อมูลการเลือกตั้งฯ ตามที่ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งได้มีการรณรงค์
                  ทั้งนโยบายและตัวบุคคล ต่างก็มีผลต่อการตัดสินใจของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งในครั้งนี้ โดยเฉพาะในประเด็นของตัว

                  ผู้ที่พรรคการเมืองเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรี แต่อย่างไรก็ตาม คณะวิจัยสามารถอนุมานถึงความแตกต่าง

                  ตามอายุได้ว่า ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งอายุระหว่าง 18 – 35 จะให้ความสนใจในนโยบายของพรรคการเมือง ซึ่งเป็น
                  นโยบายระดับชาติ เช่น นโยบายทางเศรษฐกิจ นโยบายการศึกษา นโยบายทางทหาร เป็นปัจจัยหลักในการ
                  พิจารณาเลือกตั้งฯ แต่ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งอายุระหว่าง 36 -60 ปีขึ้นไป จะพิจารณาตัวบุคคลที่เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง

                  แบบแบ่งเขตในจังหวัดพะเยา และมีความคาดหวังกับนโยบายที่จะนำามาสู่ความเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ของตน

                  ทั้งนี้ อาจเป็นผลจากประสบการณ์การเลือกตั้งของผู้สิทธิ์เลือกตั้งกลุ่มนี้ว่าสามารถรับทราบความเป็นตัวแทนของ
                  “ผู้แทน” จากระบบเลือกตั้งแบบเขตเดียวเบอร์เดียว ซึ่งสามารถเป็นที่พึ่งของประชาชนในยามเกิดปัญหา
                  ในพื้นที่ได้


                          ในด้านความแตกต่างของวิธีการเข้าถึงข้อมูลที่เป็นทางการเมื่อแยกตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องใน

                  การเลือกตั้งครั้งนี้ พบว่าผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งต่างก็มีวิธีการที่แตกต่างกันไปตามตารางที่ 22
   130   131   132   133   134   135   136   137   138   139   140