Page 139 - kpiebook63012
P. 139

139








                  เหตุการณ์การรัฐประหาร พ.ศ. 2557 ที่ประชาชนในจังหวัดพะเยาได้รับผลกระทบด้านลบเชิงเศรษฐกิจ

                  และนโยบายทางด้านการเกษตรจากรัฐบาล ทำาให้ ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งบางรายไม่ปฏิเสธการรับเงินจากหัวคะแนน
                  รวมถึงผู้ทำาหน้าที่ในระบบหัวคะแนนยังหวังว่าเมื่อผู้สมัครฯ คนดังกล่าวได้รับเลือกจะทำาให้ตนได้รับผลประโยชน์

                  ด้วยเช่นกัน จึงทำาให้การเลือกตั้งฯ จังหวัดพะเยายังเป็นแบบจัดสรรผลประโยชน์ (Pork – Barrel Politics)
                  ประการที่สองสาเหตุด้านวัฒนธรรมและทัศนคติ สืบเนื่องจากเหตุผลประการแรก ทำาให้ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งและ

                  ผู้สมัครรับเลือกตั้ง มองพฤติกรรมการสร้างเครือข่ายอุปถัมภ์ การซื้อสิทธิ์ขายเสียง การแลกเปลี่ยนผลประโยชน์
                  “เป็นเรื่องปกติที่ใคร ๆ ก็ท�ากัน” รวมถึงความหย่อนยานของการบังคับใช้กฎหมาย โดยแม้จะมีการเปลี่ยนแปลง

                  กฎหมายตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ที่มีเจตนาให้การเลือกตั้งฯ มีความสุจริตโปร่งใส
                  มากขึ้น แต่องค์กรที่เกี่ยวข้องยังคงเลือกปฏิบัติการบังคับใช้กฎหมาย นำาไปสู่การทำาลายความเสมอภาคของ

                  ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งและเสรีภาพของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ประการต่อมา การหาเสียงที่เกิดขึ้นในการเลือกตั้งฯ
                  จังหวัดพะเยา ยังคงเน้นการหาเสียงของตัวบุคคล ประกอบกับรูปแบบและวิธีการของการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ

                  แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 แบบผสมเขตกับสัดส่วน (Mixed Member Proportional หรือ MMP)
                  และกฎหมายการหาเสียงที่ถูกควบคุมการหาเสียงเชิงนโยบายจากคณะกรรมการการเลือกตั้งนั้น ได้ส่งเสริมให้

                  การเลือกตั้งฯ จังหวัดพะเยา ผู้สมัครรับเลือกตั้งใช้วิธีการหาเสียงโดยเน้นตัวบุคคลเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็น
                  ตัวผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตหรือตัวบุคคลที่จะดำารงตำาแหน่งนายกตามมาตรา 88


                          ในประเด็นผลการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตจังหวัดพะเยา สามารถเปรียบเทียบกับการศึกษาของ Ockey

                  ที่ได้ศึกษาการเลือกตั้งครั้งแรกใน พ.ศ. 2544 ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 โดยพบว่า
                  สาเหตุของการชนะการเลือกตั้งของพรรคเพื่อไทยเกิดจากนโยบายที่กระชับ ชัดเจน พุ่งเป้าไปที่กลุ่มคนยากจน

                  ในชนบท โดยไม่ได้มาจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 โดยตรง และงานของสุรชัย ตั้งมกรา
                  (2556) ที่ศึกษาปัจจัยความสำาเร็จในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 เขตเลือกตั้งที่ 5 จังหวัด

                  เชียงใหม่ พบว่าชัยชนะดังกล่าวมาจากการเคลื่อนไหวของชมรมคนรักฝาง แม่อาย ไชยปราการ กลุ่มคนเสื้อแดง
                  ที่มียุทธศาสตร์ ยุทธวิธีการเลือกตั้งอย่างเป็นระบบ แต่ผลของการเลือกตั้งจังหวัดพะเยาฯ ในครั้งนี้ปัจจัยสำาคัญ

                  ของชัยชนะการเลือกตั้งตามการศึกษาทั้งสอง กลับไม่ปรากฎในการเลือกตั้งฯ จังหวัดพะเยา โดยเห็นได้จาก
                  การที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งฯ ไม่ได้หาเสียงเชิงนโยบายอย่างเป็นรูปธรรมเช่นการเลือกตั้งครั้ง พ.ศ. 2544 รวมทั้ง

                  กลยุทธ์ของกลุ่มทางการเมืองของเสื้อแดงจังหวัดพะเยาในการเลือกตั้งครั้งนี้ ไม่สามารถสร้างกลยุทธ์ช่วยผู้สมัคร
                  ของพรรคเพื่อไทยอย่างชัดเจน นอกจากการทำาหน้าที่เป็นผู้ที่ช่วยรณรค์การหาเสียงตามที่กฎหมายกำาหนดเท่านั้น

                  ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าปัจจัยการเลือกตั้งที่เคยเอื้อต่อชัยชนะการเลือกตั้งของพรรคเพื่อไทยครั้งนี้ไม่ปรากฎใน
                  การเลือกตั้งฯ ของจังหวัดพะเยา
   134   135   136   137   138   139   140   141   142   143   144