Page 140 - kpiebook63012
P. 140
140 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมือง และพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดพะเยา
2. กำรเปลี่ยนแปลงระบบกำรเลือกตั้งต่อควำมสัมพันธ์ของ
รูปแบบวิธีกำรกำรลงคะแนนเสียงเลือกตั้งและผลกำรเลือกตั้ง
จากการที่รัฐธรรมนูญฯ มาตรา 86 กำาหนดให้สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจำานวน 500 คน
มาจากการแบ่งเขตเลือกตั้งจำานวน 350 คน และแบบบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองจำานวน 150 คน
ซึ่งแตกต่างจากการเลือกตั้งทุกครั้งภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 และ 2550 โดยให้
แต่ละเขตเลือกตั้งมีสมาชิกผู้แทนราษฎรได้เขตละ 1 คน และผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งลงคะแนนเสียงได้คนละ 1 คะแนน
และนำาคะแนนจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตมาคำานวณหาจำานวนสมาชิกสภาผู้แทนฯ
แบบรายชื่อ จึงเท่ากับระบบเลือกตั้งแบบผสมนี้การลงคะแนนเสียงให้ตัวบุคคล คือ การลงคะแนนเสียงให้
พรรคการเมืองเช่นกัน ซึ่งแตกต่างจากการเลือกตั้งผสมแบบคู่ขนานตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พ.ศ. 2540 และ 2550 ผลดังกล่าวได้ส่งให้การเลือกตั้งฯ ครั้งนี้ พรรคการเมืองจำาเป็นต้องส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง
แบบแบ่งเขตเพื่อให้ได้รับคะแนนเสียงในระบบบัญชีรายชื่อด้วยเช่นกัน ซึ่งรูปแบบการลงคะแนนเสียงดังกล่าว
เพื่อหวังให้การลงคะแนนเสียงสามารถตอบสนองเจตนารมณ์ของประชาชนในการลงคะแนนเสียงได้อย่างแท้จริง
เพราะเนื่องจากประชาชนไม่สามารถแยกการตัดสินใจในการแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและแบบบัญชีรายชื่อ
ออกจากกันได้
สำาหรับการเลือกตั้งฯ จังหวัดพะเยา การเปลี่ยนแปลงระบบการเลือกตั้งดังกล่าว ส่งผลให้จำานวน
ผู้สมัครรับเลือกตั้งฯ ทั้ง 3 เขต มีจำานวนมากกว่าการเลือกตั้งทุกครั้งที่ผ่านมา ทั้งนี้ เกิดจากการที่พรรคการเมือง
หรือผู้สมัครบางรายไม่ได้หวังผลชนะการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต แต่หวังผลคะแนนในการคำานวณให้กับที่นั่งของ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อของพรรค โดยเห็นได้จากการที่ผู้สมัครหลายพรรคการเมืองไม่ปรากฏ
ตัวหาเสียงในเขตเลือกตั้งแต่อย่างใด ผลการเลือกตั้งตามระบบเสียงข้างมากธรรมดาในเขตเลือกตั้งที่มีตัวแทน
ได้คนเดียว (Plurality – Single Member District) ได้ส่งผลให้พรรคการเมืองใหญ่มีโอกาสชนะการเลือกตั้ง
ได้มากกว่าพรรคการเมืองเล็ก ๆ ดังเช่นการนำาเสนอของ สิริพรรณ (2558) ที่กล่าววิเคราะห์ถึงความสัมพันธ์ของ
การเลือกตั้งและระบบการเมืองที่เกิดขึ้นว่าการเลือกตั้งระบบดังกล่าว จะไม่เอื้อต่อพรรคการเมืองขนาดเล็ก ๆ
ก่อตั้งขึ้นมาใหม่เพราะพรรคที่ชนะการเลือกตั้งจะต้องได้คะแนนเสียงค่อนข้างมาก ทำาให้พรรคขนาดเล็กแข่งขันยาก
เช่น ผลการเลือกตั้งฯ ของจังหวัดพะเยาแบบแบ่งเขตทั้ง 3 เขต คือ ผู้ลงสมัครจากพรรคการเมืองใหญ่ เช่น
พรรคพลังประชารัฐและพรรคเพื่อไทย