Page 134 - kpiebook63012
P. 134
134 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมือง และพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดพะเยา
แต่อย่างไรก็ตาม ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งบางกลุ่ม เช่น ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งอายุระหว่าง 23 -36 ปี ที่มีประสบการณ์
การเลือกตั้งเฉพาะแบบคู่ขนานระหว่างเขตและสัดส่วน เห็นว่าการเลือกตั้งระบบผสมนี้มีข้อเสียหากผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งฯ
ชื่นชอบพรรคการเมืองและผู้สมัครที่ไม่ได้มาจากพรรคการเมืองเดียวกัน ซึ่งอาจส่งผลต่อความผิดพลาด
ในเจตนารมณ์ของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งฯ ในการใช้สิทธิ์เลือกตั้ง และระบบนี้อาจเอื้อต่อกลุ่มการเมืองบางกลุ่มที่จะได้รับ
ประโยชน์จากระบบการเลือกตั้งดังกล่าว ซึ่งผลที่ตามมาอาจทำาให้ผลการเลือกตั้งระดับชาติพรรคขนาดกลาง
และพรรคขนาดเล็กชนะการเลือกตั้งได้ และนำาไปสู่การจัดรัฐบาลผสมตาม เช่น กรณีของสหพันธรัฐเยอรมนี
2) รูปแบบ วิธีกำร และผลกระทบกำรเลือกตั้งสมำชิกสภำผู้แทน
รำษฎรจังหวัดพะเยำ ของผู้สมัครรับเลือกตั้ง ภำยใต้รัฐธรรมนูญแห่ง
รำชอำณำจักรไทย พุทธศักรำช 2560
ทั้งนี้ ปัจจัยสำาคัญของจำานวนผู้สมัครรับเลือกตั้งฯ จังหวัดพะเยา พ.ศ. 2562 มีจำานวนมากกว่า
การเลือกตั้งทุกครั้งที่ผ่าน เป็นผลกระทบส่วนหนึ่งจากการเปลี่ยนแปลงระบบการเลือกตั้ง เป็นรูปแบบวิธี
การระบบจัดสรรปันส่วนผสม ซึ่งทำาให้พรรคการเมืองต้องส่งตัวแทนลงสมัคร ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้งก่อน
จึงจะสามารถได้รับคะแนนแบบระบบบัญชีรายชื่อ โดยมีความแตกต่างจากวิธีการระบบผสมแบบคู่ขนานที่ใช้
มาตั้งแต่การเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญ 2540 และ 2550 ที่การเลือกตั้งแบบแบ่งเขตและระบบบัญชีรายชื่อ
แยกออกจากกัน ดังนั้นการส่งผู้สมัครฯ ในแต่ละเขตอาจไม่ได้หวังผลในการชนะการเลือกตั้งในเขตนั้น
แต่หมายถึงผลคะแนนที่จะถูกนับในการคำานวณสัดส่วนที่นั่งของสมาชิกสภาผู้แทนแบบบัญชีรายชื่อ
ในประเด็นรูปแบบของผู้สมัครลงเลือกตั้งฯ หลังจากการประกาศพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 สามารถสรุปได้ว่าในการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรจังหวัดพะเยา
ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 โดยทั้งพรรคการเมืองเดิมและพรรคการเมืองใหม่ต่างก็
ได้รับผลกระทบจากกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ที่ทำาให้รูปแบบและวิธีการมีความแตกต่างจากการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา
เช่น การนำาเสนอนโยบายการหาเสียงที่ต้องดำาเนินไปอย่างรอบครอบ รัดกุม มากกว่าทุกครั้ง โดยมีการเน้น
กลุ่มเป้าหมายในการสื่อสารที่ชัดเจน เช่น กลุ่มอาชีพ และกลุ่มอายุในจังหวัดพะเยา รวมถึงรูปแบบที่การรณรงค์
หาเสียงทางการเมืองโดยเน้นตัวบุคคล เช่น การนำาเสนอผู้ที่พรรคเสนอให้เป็นผู้ดำารงตำาแหน่งนายกรัฐมนตรีตาม
มาตรา 88 หรือ การนำาเสนอเฉพาะตัวบุคคลที่เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งฯ แบบแบ่งเขตที่ได้รับความนิยมในพื้นที่
ในด้านวิธีการนั้น ผู้สมัครจากพรรคการเมืองเดิมและพรรคการเมืองใหม่ ต่างก็มีวิธีการนำาเสนอที่
หลากหลายทั้งรูปแบบที่เป็นทางการตามที่กฎหมายระบุ และไม่เป็นทางการ เช่น กลวิธีการทำาลายคู่แข่ง และ
การใช้เงินซื้อ โดยการกระทำาด้วยวิธีดังกล่าวหัวคะแนนมีกลุ่มเป้าหมายและวิธีการที่รัดกุม โดยเจาะจง
ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งบางกลุ่มมากเท่านั้น เช่น ในกลุ่มญาติพี่น้อง หรือกลุ่มผู้สูงอายุ ที่มีความซื่อตรงในการรับเงิน
และตอบแทนในการลงคะแนนเสียง