Page 137 - kpiebook63011
P. 137
137
6.1 บทสรุป
จากการศึกษาวิจัยเรื่อง “การเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญ 2560 ที่มีผลต่อรูปแบบ วิธีการ และ
พฤติกรรมการหาเสียงเลือกตั้งของผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562
จังหวัดเชียงใหม่” พบว่าการเลือกตั้งในวันที่ 24 มีนาคม 2562 ที่เกิดขึ้นภายใต้รัฐธรรมนูญ ฉบับปี พ.ศ. 2560
กับระบบการเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสมได้นำามาสู่การเปลี่ยนแปลงของยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา
องค์กรของพรรคการเมือง ตลอดจนพฤติกรรมการเลือกตั้งของประชาชนในหลายมิติ ต่างส่งผลต่อทิศทาง
การพัฒนาทางการเมืองของประเทศไทยในปัจจุบัน จังหวัดเชียงใหม่ซึ่งถือเป็นจังหวัดที่เป็นศูนย์กลางทาง
การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของภาคเหนือตอนบน มีจำานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้งวันที่
24 มีนาคม 2562 จำานวนมากที่สุดในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือ โดยจำานวน 9 คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งของ
9 เขตเลือกตั้ง จำานวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีสูงถึง 1,303,660 คน การเลือกตั้งครั้งนี้ นับเป็นการเลือกตั้งที่มีผู้สมัคร
รับเลือกตั้งมากที่สุดและมีพรรคการเมืองลงแข่งขันเฉลี่ยในเขตเลือกตั้งมากที่สุดเช่นเดียวกัน โดยมีผู้สมัคร
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำานวน 9 เขตเลือกตั้ง รวม 310 คน จาก 44 พรรคการเมือง
โดยภายหลังจากการตรวจสอบคุณสมบัติและข้อต้องห้าม มีผู้สมัครที่คุณสมบัติไม่ผ่านเกณฑ์ จำานวน 7 คน
คงเหลือ 303 คน มีจำานวนหน่วยเลือกตั้ง 2,590 หน่วยเลือกตั้ง จาก 25 อำาเภอ (สำานักงานคณะกรรมการ
การเลือกตั้งประจำาจังหวัดเชียงใหม่ 2562, สำานักกรมประชาสัมพันธ์, 4 มีนาคม 2562)
ผลการเลือกตั้งของจังหวัดเชียงใหม่ในวันที่ 24 มีนาคม 2562 ทั้ง 9 เขต พรรคเพื่อไทยเป็นพรรคที่
ได้รับการลงคะแนนสูงสุดมาเป็นอันดับ 1 ทุกเขตเลือกตั้ง ซึ่งสะท้อนความนิยมและความเข้มแข็งของพรรค
เพื่อไทยในพื้นที่ของจังหวัดชียงใหม่ได้อย่างดี แม้ว่าในรอบ 5 ปีที่ผ่านมากลไกทางการเมืองต่างหยุดชะงักและ
พรรคการเมืองไม่ได้มีการดำาเนินกิจกรรมทางการเมืองอย่างเป็นทางการต่อเนื่อง แม้พรรคเพื่อไทยในจังหวัด
เชียงใหม่ไม่ได้ดำาเนินกิจกรรมต่าง ๆ แต่เครือข่ายการเมืองด้วยระบบอุปถัมภ์ที่มีต่อกลุ่มการเมืองและผู้นำาการเมือง
ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ยังคงเป็นกลไกสำาคัญในการหล่อเลี้ยงความนิยมและความผูกพันกับพรรคเพื่อไทย
มานับตั้งแต่พรรคไทยรักไทย และพรรคพลังประชาชน ในขณะพรรคพลังประชารัฐและพรรคอนาคตใหม่
เป็นพรรคการเมืองที่ได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้งรองลงมาในอันดับที่ 2 และ 3 ในเขตเลือกตั้งทั้ง 9 เขต ผลคะแนน
เสียงการเลือกตั้งสะท้อนภาพของความหลากหลายของพรรคการเมืองจากระบบการเลือกตั้งจัดสรรปันส่วนผสม
การมีผู้สมัคร ส.ส. จากพรรคการเมืองจำานวนมากลงแข่งขันในการเลือกตั้งครั้งนี้ และสัดส่วนการกระจายของ
คะแนนยิ่งตอกยำ้าความต้องการของประชาชนในการเห็นพรรคการเมืองเป็นองค์กรทางการเมืองที่มั่นคง มากกว่า
เป็นเพียงพรรคที่เกิดขึ้นมาเพื่อการเลือกตั้งในช่วงเวลาของการเลือกตั้งเท่านั้น พฤติกรรมการลงคะแนนเสียง
ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งจังหวัดเชียงใหม่ที่เห็นได้ชัดเจนคือ การเปลี่ยนแปลงจากความนิยมตัวบุคคลไปสู่ความนิยม
ในพรรคการเมืองมากขึ้น แต่ยังมีความนิยมตัวบุคคลที่โดดเด่นในพรรค เช่น หัวหน้าพรรค แกนนำาพรรคที่มี
ชื่อเสียง ความหลากหลายทางสังคมและวัฒนธรรมของจังหวัดเชียงใหม่ การเติบโตของของความเป็นเมือง
และวิถีชีวิตสมัยใหม่ที่มีเทคโนโลยีด้านการสื่อสารมาเกี่ยวข้องกับชีวิตของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง นับเป็นสิ่งที่ท้าทาย
ความสามารถและการทำาหน้าที่ของ นักการเมือง ผู้สมัครรับเลือกตั้ง และพรรคการเมือง