Page 139 - kpiebook63011
P. 139
139
ด้วยบรรยากาศและสถานการณ์ทางการเมืองในช่วงรัฐบาล คสช. ที่จังหวัดเชียงใหม่ถือเป็นพื้นที่
ที่มีการเคลื่อนไหวทางการเมืองมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งจากกลุ่มการเมืองผู้สนับสนุนทางการเมือง เช่นกลุ่มคน
เสื้อแดง หรือกลุ่มอิสระ เช่น กลุ่มต่อต้านบ้านพักผู้พิพากษาและจากนักศึกษา, ชนชั้นกลางในจังหวัดเชียงใหม่
การเป็นพื้นที่เมืองขนาดใหญ่และมีสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาหลายแห่งเป็นองค์ประกอบหนึ่งในการผลักดัน
บริบทของการเมืองเชียงใหม่ เป็นการเมืองในพื้นที่สาธารณะ นอกจากทำาให้การเคลื่อนไหวทางการเมืองในพื้นที่
สาธารณะแล้ว การเติบโตของข้อมูลข่าวสารในสื่อออนไลน์เพื่อแสดงออกทางความคิดทางการเมืองก็เกิดขึ้น
บ่อยครั้ง ซึ่งมีผลต่อพฤติกรรมการเลือกตั้งของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในจังหวัดเชียงใหม่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
มากพอสมควร การเกิดขึ้นของสุญญากาศทางการเมือง ในช่วงกว่า 5 ปีที่ผ่านมาส่งผลต่อการตื่นตัวทางการเมือง
พร้อม ๆ กับการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการสื่อสารที่สามารถเข้าถึงข้อมูลและติดต่อสื่อสารกันได้มากขึ้น ทำาให้เกิด
การกระตุ้นให้พฤติกรรมการเลือกตั้งของผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งไม่ว่าจะเป็นในเขตเมืองหรือชนบทไม่ได้
ถูกครอบงำาโดยระบบหัวคะแนนหรือชนชั้นนำามากเหมือนการเลือกตั้งครั้งที่ผ่าน ๆ มาอีกต่อไป พรรคการเมือง
ต้องปรับบทบาทในการทำาหน้าที่ตัวแทนทางการเมืองที่เน้นการต่อสู้ในเชิงนโยบายมากขึ้น แม้พื้นฐานคะแนน
เสียงส่วนใหญ่ของจังหวัดเชียงใหม่จะเป็นของพรรคเพื่อไทย แต่ด้วยระบบการเลือกตั้งที่นำาไปสู่การนับคะแนน
ทุกคะแนนให้แก่พรรคการเมือง ส่งผลให้พรรคการเมืองต้องคาดหวังคะแนนทุกคะแนนเสียงในพื้นที่แม้ไม่ชนะ
การเลือกตั้งก็ตาม นอกจากการใช้นโยบายในการหาเสียงแล้ว ในการเลือกตั้งการแสดงออกถึงขั้วทางการเมือง
ของพรรคการเมืองต่าง ๆ ยังคงปรากฏให้เห็น สืบเนื่องมาจากประสบการณ์ของความขัดแย้งทางการเมือง
ในอดีตที่จังหวัดเชียงใหม่ถือเป็นรากฐานหนึ่งของการแสดงออกซึ่งความขัดแย้งทำาให้ การเลือกข้างทางการเมือง
เป็นประเด็นในการหาเสียงในพื้นที่รอบนอกอำาเภอเมืองเชียงใหม่ แต่ในเขตอำาเภอเมืองที่มีกลุ่มผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
ครั้งแรกและชนชั้นกลางค่อนข้างมาก การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งของพรรคการเมือง เน้นเรื่องการเปลี่ยนแปลง
ทางการเมืองสังคม การพัฒนาเศรษฐกิจและนโยบายการพัฒนาเมืองเชียงใหม่เป็นหลัก
ปัจจัยสำาคัญของความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในจังหวัดเชียงใหม่คือ กลุ่มผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรก
ในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความสนใจและตื่นตัวทางการเมืองสูง พรรคการเมืองหลายพรรคให้ความสำาคัญ
กับคนกลุ่มนี้ เห็นได้จากการจัดตั้งกลุ่มคนรุ่นใหม่ทำางานการเมืองกับพรรคในพื้นที่ในรูปแบบของอาสาสมัคร
และช่วยรณรงค์หาเสียง และทำางานกับพรรคเพื่อฝึกประสบการณ์ บทบาทของคนรุ่นใหม่ในการเลือกตั้งครั้งนี้
ไม่ใช่เพียงแค่การลงคะแนนเสียงครั้งแรก แต่ยังรวมไปถึงความสามารถในการใช้สื่อออนไลน์ของคนรุ่นใหม่ที่เอื้อต่อ
การประชาสัมพันธ์ให้แก่พรรคการเมืองและนักการเมือง ที่ทำาให้หลายพรรคการเมืองที่แข่งขันการเลือกตั้งใน
จังหวัดเชียงใหม่นอกเหนือจากรูปแบบของการรณรงค์หาเสียงด้วยการพบปะประชาชนในชุมชน การไปร่วม
งานประเพณี พิธีกรรมต่าง ๆ ของชุมชน การแจกใบแนะนำาตัว การจัดทำาป้ายผู้สมัคร และการจัดเวทีปราศรัย
อย่างที่เคยทำามาแล้ว รูปแบบการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งด้วยการใช้สื่อออนไลน์ (Social Media) กลายเป็น
รูปแบบที่มีความจำาเป็นอย่างยิ่ง พรรคการเมือง ผู้สมัคร ส.ส. และเครือข่ายผู้สนับสนุนทั้งพรรคการเมืองและ
ผู้สมัคร โดยจะมีช่องทางสื่อออนไลน์พื้นฐานคือ LINE และ Facebook