Page 134 - kpiebook63011
P. 134
134 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดเชียงใหม่
การเติบโตของจังหวัดเชียงใหม่ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงเวลาดังกล่าวก็ทำาให้พฤติกรรมการรับรู้
ทางการเมืองของประชาชนเปลี่ยนแปลงไป ประชาชนส่วนใหญ่ไม่ต้องการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง
ในที่สาธารณะ แต่มีพรรคการเมืองที่ตนเองให้ความสนใจและพร้อมจะลงคะแนนให้ตั้งแต่ก่อนถึงวันเลือกตั้ง
ประชาชนในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่มีความแตกต่างของพฤติกรรมการเลือกตั้ง ที่เห็นได้ชัดเจนคือพื้นที่ในเขตเมือง
กับพื้นที่ในชนบท เลยเป็นที่มาของการกำาหนดกลยุทธ์การหาเสียงของผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ต้องวางแผนหาเสียง
ที่เป็นไปตามลักษณะของพื้นที่เป็นหลัก ความเป็นเมืองเป็นปัจจัยอีกประการที่ส่งผลต่อความคิดทางการเมือง
ของประชาชน ในพื้นที่เมืองที่ได้รับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ลดการพึ่งพิงระบบอุปถัมภ์ซึ่งต่างออกไปจาก
พื้นที่ชนบท ทำาให้พฤติกรรมและการตัดสินใจทางการเมืองเป็นเรื่องของการมองนโยบายพรรคการเมืองและ
ความมั่นคงทางเศรษฐกิจมากขึ้น
สื่อออนไลน์นับว่ามีผลต่อการประชาสัมพันธ์และการเข้าถึงประชาชนอย่างมาก ที่ทำาให้ทุกพรรคการเมือง
ต้องมีการนำาเสนอภาพลักษณ์ทั้งในเชิงสนับสนุนและเชิงแข่งขันระหว่างการหาเสียงเลือกตั้ง แต่ถึงแม้การ
ประชาสัมพันธ์ การแนะนำาผู้สมัคร และการใช้นโยบายของพรรคการเมืองในการหาเสียงจะมีหลากหลายและ
ขยายครอบคลุมไปในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่อย่างทั่วถึง แต่ความรู้ความเข้าใจของประชาชนที่เกี่ยวกับระบบ
การเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสมยังมีไม่มากนัก ทั้งกรณีของเวลาในการหาเสียงที่เพิ่มขึ้น การมีบัตรเลือกตั้ง
ใบเดียว ทำาให้ช่องโหว่ของความรู้จากการประชาสัมพันธ์ของรัฐที่ไม่ทั่วถึงเป็นหนทางของผู้นำาท้องถิ่น พรรคการเมือง
และหัวคะแนนสามารถวางแผน จัดสรรการลงคะแนนของประชาชนได้จนเกิดการแชร์คะแนนและข้อแนะนำา
ในการเลือกตั้งที่อยู่บนยุทธศาสตร์ในการลงคะแนนโดยการเลือกพรรคที่ชอบที่สุดแต่ต้องให้พรรคที่จะไปอยู่
กลุ่มเดียวกับพรรคตัวเองให้มาอันดับที่สอง และจากข้อมูลพบว่าประชาชนส่วนใหญ่ต้องการทางเลือกในการ
ใช้สิทธิด้วยการมีบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ ดังเช่นการเลือกตั้งในอดีต บทบาทของหัวคะแนนและการซื้อเสียงอาจจะ
ไม่ได้หายไปจากสังคมไทย แต่ก็มีการเปลี่ยนแปลงทั้งรูปแบบและวิธีการ ที่สำาคัญพฤติกรรมการลงคะแนนเสียง
เลือกตั้งในจังหวัดเชียงใหม่สะท้อนความเปลี่ยนแปลงที่เงินซื้อเสียงอาจจะไม่ใช้ปัจจัยที่นำามาสู่ชัยชนะในการ
เลือกตั้งอีกต่อไป
อย่างไรก็ตามภายใต้ระบบการเลือกตั้งแบบใหม่ พรรคใหม่จำานวนมากที่ก่อตัวขึ้นท่ามกลางบริบทสังคม
ที่เรียกร้องประชาธิปไตยผ่านการเลือกตั้ง นำามาสู่ความคาดหวังทางการเมืองของประชาชนที่จะเห็นภาพของ
การเมืองหลังเลือกตั้ง ทำาให้การต่อสู้แข่งขันของพรรคการเมืองต่าง ๆ และผู้สมัครรับเลือกตั้งในจังหวัดเชียงใหม่
ต้องอาศัยองค์ประกอบในการสนับสนุนกระบวนการแข่งขันหลายประการ ทั้งเงิน อำานาจ การใช้วิธีการ เทคนิค
ในการรณรงค์เลือกตั้ง ซึ่งพรรคการเมืองแต่ละพรรคมีต้นทุนและทรัพยากรในพรรคไม่เหมือนกัน จึงเป็นสิ่งที่
ท้าทายความเข้มแข็งและอยู่รอดขององค์กรพรรคการเมืองในปัจจุบันมากขึ้น